ปรัชญา
ส่งเสริมการสร้างบัณฑิตที่เข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
วิสัยทัศน์
สำนักศึกษาทั่วไปเป็นต้นแบบด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อส่งเสริมการสร้างบัณฑิตให้เป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
พันธกิจ
1.พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการสร้างบัณฑิตให้เป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
2.พัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาบุคลากรสำนักศึกษาทั่วไปให้มีสมรรถนะตามสายงานอย่างต่อเนื่อง
3.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
4.พัฒนาระบบบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
5.พัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักศึกษาทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ภารกิจ
สำนักศึกษาทั่วไปเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการสร้างบัณฑิตที่เข้าใจตนเองและผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
นโยบายการบริหารงานสำนักศึกษาทั่วไป (พ.ศ. 2564-2568)
- ใช้การวิจัยและพัฒนา (R&D) และ เครื่องมือประเมินตนเอง (Approach Deploy Learning Integration; ADLI) ในการปรับปรุงและพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ใช้หลักการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome Based Education; OBE) หรือ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทั้งในระดับรายวิชาและระดับหมวดวิชา
- พัฒนาสำนักศึกษาทั่วไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยใช้องค์ความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ฝังลึกลงไปในวิถีการปฏิบัติงานขององค์กร (Organizational learning)
- เน้นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน (Flow and collaborative network) บนแนวทางการบูรณาการ (Integration) เพื่อไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning innovation)
- ปลูกฝังค่านิยมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning) มุมมองเชิงระบบ (System perspective) และความคล่องตัว (Agility) กับผู้บริหารและบุคลากร
- สร้างคน (เตรียมบุคลากรสำหรับสมรรถนะหลักในอนาคต) นำองค์กร (กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจทำให้เห็น และจริงใจ) และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร อย่างมีวิสัยทัศน์และธรรมาภิบาล
- เน้นการสร้างและใช้ระบบสารสนเทศและการวิจัย ดำเนินการบริหารจัดการบนฐานคิดความคุ้มค่า (มูลค่าและคุณค่า) และประเมินผลการบริหารจัดการโดยใช้ตัวชี้วัด OKR (Objectives and Key Results) วิธีการตั้งเป้าหมายของแต่ละบุคคลในองค์กรให้มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร
- ปรับปรุงการดำเนินงานบนข้อมูลป้อนกลับจากนิสิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- มีการสานต่อภารกิจจัดทดสอบภาษาอังกฤษ MSU-English exit exam และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ MOOCs (Massive Open Online Courseware)