วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กิจกรรมโครงการ MSU Flagship Camp ณ ห้อง Co-Working Space ชั้น 2 อาคารราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักศึกษาทั่วไปฯ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป จึงเล็งเห็นความสำคัญของของการเพิ่มความรู้และทักษะที่หลากหลายจากการเรียนรายวิชาสำนักศึกษาทั่วไปเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมทักษะชีวิตที่หลากหลายเพื่อให้นิสิตได้ส่งเสริมทักษะทางด้านการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนที่ดีขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ความเท่าเทียม สิ่งแวดล้อม ความสงบ ภาษาและวัฒนธรรม การส่งเสริมทักษะทางด้านการเป็นผู้ประกอบการ การส่งเสริมความเป็นผู้นำ และการส่งเสริมสร้างสรรค์สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความสามารถในการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 งานพัฒนานิสิต กลุ่มงานวิชาการและพัฒนานิสิต สำนักศึกษาทั่วไป จึงจัดกำหนดจัดโครงการ MSU Flagdship Camp ในวันที่ 13 พ.ย. 2566 (ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) กิจกรรม Flagship Camp และ MSU SDGs Camp ขึ้น 2 ครั้ง แบ่งเป็น กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่แหล่งเรียนรู้ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างวันที่ 14 – 18 พฤศจิกายน 2566 และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่แหล่งเรียนรู้ ณ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 21 – 26 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้นิสิตได้รับความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมโดยให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม สิ่งแวดล้อม และการติดต่อสื่อสารกับผู้คนหลายหลายเชื้อชาติ ภาษา ซึ่งช่วยให้นิสิตสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือต่อยอดในอนาคต
กิจกรรมในวันนี้ (13 พ.ย. 2566) นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ทำกิจกรรมต่าง ดังนี้ ช่วงที่ 1 จะเป็นกิจกรรม Icebreaking and Panelists at MSU โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญญารัตน์
นาถธีระพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไปฝ่ายส่งเสริมความเป็นนานาชาติและภาพลักษณ์องค์กร
ช่วงที่ 2 จะเป็นกิจกรรม “Campus Tour” กิจกรรมแบ่งกลุ่มเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ โดยวิทยากร 6 ท่าน ในหัวข้อย่อย ดังนี้
1. หัวข้อ Paleontology
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ
อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. หัวข้อ Silk Innovation Center
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วัลยา สุทธิขำ
อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3. หัวข้อ Medical Mushroom Museum
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล
อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. หัวข้อ SDGs
โดยอาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและการพัฒนาที่ยั่งยืน
5. หัวข้อ นฤมิตศิลป์
โดยอาจารย์ ดร.วีรพล เจียมวิสุทธ์
อาจารย์สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
6. หัวข้อ Paleontology
โดยนางสาวประภาศิริ วาระเพียง บุคลากรศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา
โดยกิจกรรมดังกล่าวนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมทั้งสิ้น 100 คน