Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the search-in-place domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in D:\xampp\htdocs\2021\wp-includes\functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the w4-post-list domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in D:\xampp\htdocs\2021\wp-includes\functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the mesmerize domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in D:\xampp\htdocs\2021\wp-includes\functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the mesmerize domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in D:\xampp\htdocs\2021\wp-includes\functions.php on line 6114
กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” - สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : Office of General Education Mahasarakham University

กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์”

เป็นหน่วยงานจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 08.30 น. – 12.00 น.  สำนักศึกษาทั่วไป ได้จัดโครงการประกวดแผนประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการเชิงศิลปวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2566  ระยะที่ 3 กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์”  ขึ้น  ณ  ห้องประชุม Co-working space  สำนักศึกษาทั่วไป  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นกิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์”  โดย มีกรรมการ 3 ท่าน ได้แก่

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา เรืองอุตมานันท์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ)  2) อาจารย์ ปรีชา นวลนิ่ม (อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์)

3) คุณกิจมงคล ป้องจันทร์ (กรรมการและเลขานุการ ศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมภาคธุรกิจ จังหวัดมหาสารคาม)

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ พรหมสัตยพรต  รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายบริหาร เป็นประธานกล่าวเปิด   

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1  กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”จัดในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566  ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน WebEx   เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”  โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม

ระยะที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” จัดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566  ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”

โดย คุณณัฏฐภรณ์ คมจิต ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เฮือนคำนาง และกลุ่มบริษัทในเครือ Khamnang group (KNG)

ระยะที่ 3 กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” จัดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566   ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   เป็นกิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” 

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านทางการต่อยอดจากรายวิชาต่างๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป  เพื่อเป็นเวทีให้นิสิตได้แสดงออกถึงความสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  เพื่อเป็นการเฟ้นหาไอเดีย หรือ สินค้าและบริการต้นแบบทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสามารถต่อยอดไปสู่ระดับสากล  เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือสร้างคุณค่าผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน 

ภาพ/ข่าว : ช่อลัดดา คำธานี

Verified by MonsterInsights