วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 8.30 น. – 12.00 น. สำนักศึกษาทั่วไป ได้จัดโครงการประกวดแผนประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการเชิงศิลปวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 1 กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” บรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม ณ ห้องประชุมสำนักศึกษาทั่วไป (RN-105) อาคารราชครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และดำเนินการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทางแอปพลิเคชัน WebEx โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เป็นประธานกล่าวเปิด
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”จัดในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน WebEx เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม
ระยะที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” จัดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”
โดย คุณณัฏฐภรณ์ คมจิต ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เฮือนคำนาง และกลุ่มบริษัทในเครือ Khamnang group (KNG)
ระยะที่ 3 กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” จัดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นกิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” โดย มีกรรมการ 3 ท่าน
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา เรืองอุตมานันท์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ)
2) อาจารย์ ปรีชา นวลนิ่ม (อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์)
3) คุณกิจมงคล ป้องจันทร์ (กรรมการและเลขานุการ ศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมภาคธุรกิจ จังหวัดมหาสารคาม)
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านทางการต่อยอดจากรายวิชาต่างๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นเวทีให้นิสิตได้แสดงออกถึงความสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเฟ้นหาไอเดีย หรือ สินค้าและบริการต้นแบบทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสามารถต่อยอดไปสู่ระดับสากล เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือสร้างคุณค่าผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ มีนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวนกว่า 100 คน
ภาพ/ข่าว : ช่อลัดดา คำธานี