On Tuesday, February 21, 2023, from 8:30 a.m. to 12:00 noon, the Office of General Education at Mahasarakham University organized discussion activities on the topic “The concept of creative and sustainable extension of Isan arts and culture.” This was part of the Fiscal Year 2023 initiatives aimed at promoting local sustainability of arts and cultural products and services. The discussion took place at the General Education office meeting room (RN-105), Rajakarin Building.
During the discussion, a special lecture titled “Concepts of Creative and Sustainable Extension of Isan Arts and Culture” was delivered by Professor (Special) Srisak Valliphodom. The lecture was broadcasted online via the WebEx application. Assistant Professor Dr. Jindaporn Chamraslertlak, the director of the General Education office, presided over the opening remarks.
The project was implemented in three phases. The first phase included the online special lecture on February 21, 2023, via the WebEx application, focusing on the topic “The concept of creative and sustainable extension of Isan arts and culture,” delivered by Professor (Special) Srisak Valliphodom.
The second phase consisted of workshop activities on the topic “Food and the creative and sustainable development of wisdom heritage,” which were held on February 22, 2023, at the Co-working space conference room, General Education Office. A special lecture on the same topic was given by Khun Nattaporn Komjit, founder of the Hueankhamnang brand and Khamnang group (KNG).
Lastly, “The concept of creative development of Isan arts and culture” took place on February 24, 2023, at the Co-working space conference room, General Education Office. This was a competitive activity titled “The concept of creative development of Isan arts and culture” with three committee members:
1) Assistant Professor Dr. Chutima Ruanguttamanun (Lecturer of the Department of Marketing, Faculty of Accounting and Management)
2) Ajarn Preecha Nualnim (Lecturer in Visual Arts, Faculty of Fine and Applied Arts and Cultural Sciences)
3) Mr. Kitmongkol Pongchan (Director and Secretary of the Corporate Social Responsibility Promotion Center, Maha Sarakham Province).
The project aimed to provide a platform for students to express their creativity, assertiveness, and exchange knowledge in the preservation of arts and culture. It aimed to search for ideas or prototype products and services related to the community’s arts and culture, with the goal of extending them to an international level. The project also sought to promote local arts and culture, adding value and creating sustainable income opportunities. More than 100 students enrolled in general education courses participated in the project.
กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”
กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 8.30 น. – 12.00 น. สำนักศึกษาทั่วไป ได้จัดโครงการประกวดแผนประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการเชิงศิลปวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะที่ 1 กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” บรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม ณ ห้องประชุมสำนักศึกษาทั่วไป (RN-105) อาคารราชครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และดำเนินการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทางแอปพลิเคชัน WebEx โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เป็นประธานกล่าวเปิด
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการดำเนินการใน 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”จัดในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน WebEx เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวคิดการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมอีสานอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ศรีศักร วัลลิโภดม
ระยะที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน” จัดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อาหารกับการพัฒนามรดกภูมิปัญญาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน”
โดย คุณณัฏฐภรณ์ คมจิต ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เฮือนคำนาง และกลุ่มบริษัทในเครือ Khamnang group (KNG)
ระยะที่ 3 กิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” จัดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม Co-working space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นกิจกรรมแข่งขัน “แนวคิดการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานเชิงสร้างสรรค์” โดย มีกรรมการ 3 ท่าน
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา เรืองอุตมานันท์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ)
2) อาจารย์ ปรีชา นวลนิ่ม (อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์)
3) คุณกิจมงคล ป้องจันทร์ (กรรมการและเลขานุการ ศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมภาคธุรกิจ จังหวัดมหาสารคาม)
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านทางการต่อยอดจากรายวิชาต่างๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นเวทีให้นิสิตได้แสดงออกถึงความสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเฟ้นหาไอเดีย หรือ สินค้าและบริการต้นแบบทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสามารถต่อยอดไปสู่ระดับสากล เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือสร้างคุณค่าผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ให้สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ มีนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวนกว่า 100 คน
ภาพ/ข่าว : ช่อลัดดา คำธานี
ใส่ความเห็น