เอกสารประกอบการสอน
รายวิชา 0035001
หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
(One Program One Community)
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558)
โดยสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ธันวาคม 2563
คำนำ
รายวิชา 003 5001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน เป็นกลไกสำคัญในการปลูกฝังให้เกิดคุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปด้านจิตอาสา จิตสาธารณะ เพื่อให้นิสิตพัฒนาตนเองสู่การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน อันเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ แสดงรายละเอียดของรายวิชาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ. 3) ไว้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของแต่ละหลักสูตร และได้กำหนดเกณฑ์การประเมินผลไว้ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม การศึกษาชุมชน เทคนิคและเครื่องมือการลงชุมชน โดยจะประเมินผลด้านความรู้ในการสอบกลางภาคด้วยข้อสอบเดียวกัน
ผู้ประสานงานรายวิชา
003 5001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
สารบัญ
เนื้อหา หน้า
บทที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1
1.1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม………………………………………………2
1.1.1 ประวัติการขยายตัวชุมชนเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2408-ปัจจุบัน
(ทศวรรษ 2550)………………………………………………………………………………………. 2
1.1.2 สภาพทั่วไปและเมืองมหาสารคามก่อนตั้งเมือง พ.ศ. 2408……………………..4
1.1.3 การขยายตัวเมืองมหาสารคาม ยุคแรก โดยบทบาทของเจ้าเมือง
พ.ศ. 2408-2455…………………………………………………………………………………….. 5
1.1.4 การขยายตัวเมืองมหาสารคามโดยบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ. 2455-2510…………………………………………………………………………………… 12
1.1.5 การขยายตัวเมืองมหาสารคามจากบทบาทของสถาบันการศึกษา
พ.ศ. 2510-2535…………………………………………………………………………………… 17
1.1.6 การขยายตัวเมืองมหาสารคามโดยบทบาทของธุรกิจแบบใหม่
พ.ศ. 2535-ทศวรรษ 2550……………………………………………………………………… 19
1.1.7 บทสรุป………………………………………………………………………………………… 31
1.2 ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม…………………………………………………………..32
1.2.1 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร……………………………………………..33
1.2.2 วิทยาลัยวิชาการศึกษา………………………………………………………………………34
1.2.3 วิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม………………………………………35
1.2.4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม…………………………….36
1.2.5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม………………………………………………………………….. 39
1.3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม…………………………………………………………………….. 41
1.3.1 ปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย 41
1.3.2 ตราสัญลักษณ์ สี และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย………………………………………… 42
1.3.3 คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย………………………………..43
1.3.4 คุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป………………………..44
1.3.5 มหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่…………………………………….. 44
บทที่ 2 บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม 51
2.1 มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม…………………………………………………………………………..52
2.1.1 การเรียนการสอน…………………………………………………………………………………… 52
2.1.2 การวิจัย………………………………………………………………………………………………… 53
2.1.3 การบริการวิชาการ…………………………………………………………………………………. 53
2.1.4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม…………………………………………………………………… 53
2.2 รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน………………………………………………………………… 54
2.3 จิตอาสา………………………………………………………………………………………………….. 56
2.3.1 ความหมายของจิตอาสา………………………………………………………………………….. 56
2.3.2 แนวทางการพัฒนาจิตอาสา…………………………………………………………………….. 58
บทที่ 3 การศึกษาชุมชน 60
3.1.1 ความหมายของชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน…………….. 61
3.1.2 ความหมายของการพัฒนาชุมชน……………………………………………………………… 62
3.1.3 กระบวนการพัฒนาชุมชน……………………………………………………………………….. 63
3.1.4 วิธีการและเครื่องมือในการศึกษาชุมชน…………………………………………………….. 64
3.1.5 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชน………………………………………… 78
3.1.6 การแนะนำตัว……………………………………………………………………………………….. 80
3.1.7 เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน…………………………………………………….. 81
3.1.8 การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในชุมชน…………………………………………………………………… 82
3.1.9 ข้อพึงระวังในการเข้าพื้นที่ชุมชน……………………………………………………………… 82
3.1.10 การออกจากชุมชน……………………………………………………………………………….. 83
ภาคผนวก การบริหารจัดการขยะ 85
ปัญหาขยะในประเทศไทย………………………………………………………………………………… 85
ปัญหาขยะของชุมชนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม…………………………………………………… 87
1) ปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัย…………………………………………………………… 87
2) สาเหตุของปัญหาขยะในชุมชนมหาวิทยาลัย…………………………………………………… 87
3) การจัดการขยะของเทศบาล…………………………………………………………………………. 88
แนวทางการแก้ปัญหาขยะแบบ 8R…………………………………………………………………… 88
ระบบบริหารจัดการขยะ…………………………………………………………………………………… 91
รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณะ/ภาควิชา/สาขาวิชา | สำนักศึกษาทั่วไป |
หมวดที่ 1 อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา 0035001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน One Program One Community |
2. จำนวนหน่วยกิต 2 หน่วยกิต (1-2-3) |
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา ปริญญาตรี หมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มสหศาสตร์ |
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน 4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม (อาจารย์ผู้ประสานงาน) 4.2 อาจารย์ผู้สอน |
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน ภาคการศึกษาที่ 2/2563 ชั้นปีที่ 1-4 |
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี) ไม่มี |
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน(Co-requisite) (ถ้ามี) ไม่มี |
8. สถานที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด วันพฤหัสบดีที่ 12 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 |
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา 1.นิสิตสามารถบอกความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ 2.นิสิตสามารถใช้เครื่องมือศึกษาชุมชนเบื้องต้นในการเรียนรู้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมได้ 3.มคอ.2(1.3) มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกติกาขององค์กรและสังคม ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย 4.มคอ.2(1.5) มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจและความเสียสละ จิตอาสา จิตสาธารณะ 5.นิสิตสามารถบอกถึงปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยได้ 6.นิสิตสามารถเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนได้ 7.มคอ.2(1.1) มีความซื่อสัตย์สุจริต 8.มคอ.2(1.2) มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร และอดทน 9.นิสิตสามารถบอกความหมายและความสำคัญของการบริการวิชาการและการเป็นที่พึ่งของสังคมได้ 10.มคอ.2(2.1) นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับตนเองทั้งด้านการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ 11.มคอ.2(2.4) นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม 12.มคอ.2(3.1) สามารถควบคุมและพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ดี 13.มคอ.2(3.2) สามารถค้นหาข้อมูล/หลักฐาน รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย ลงความเห็น และสื่อความหมาย ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ 14.มคอ.(3.3) มีทักษะการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีวิจารณญาณ สามารถคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต 15.มคอ.(3.4) มีทักษะในการทำงาน สามารถวางแผน จัดการ และปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดี สามารถบูรณาการความรู้และนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ 16.มคอ.(4.1) เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 17.มคอ.(4.2) มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม มีจิตสาธารณะ 18.มคอ.(4.4) มีทักษะความร่วมมือ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักเชื่อใจผู้อื่น |
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา 1.ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้แต่ละหลักสูตรสามารถออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตรมากขึ้น 2.ปรับปรุงกระบวนการประเมินผลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนมากขึ้น |
หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา ปรัชญา วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย ความหมายและความสำคัญของการเป็นที่พึ่งของสังคม ความเป็นผู้นำ การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชน เทคนิคและเครื่องมือการเรียนรู้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม การบริการวิชาการแก่ชุมชน Philosophy, vision, and identity of curriculum, faculty and university, meaning and important of community supporter, leadership, collaborative learning for community development, techniques and tools of participatory community learning, academic service to the community |
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน การศึกษาด้วยตนเอง บรรยาย 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา สอนเสริมตามความต้องการของนิสิต ฝึกปฏิบัติ 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา การศึกษาด้วยตนเอง 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ |
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล อาจารย์ประจำวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) |
หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิต
1. คุณธรรม จริยธรรม | ||
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา | วิธีการสอน | วิธีการประเมินผล |
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ( ) | ||
จมม.(6) มคอ.2(1.1) มีความซื่อสัตย์สุจริต | 1. สอนโดยการบรรยายสอดแทรก 2. สร้างเงื่อนไขให้ฝึกปฏิบัติ | การสังเกต (คัดลอกงานหรือไม่) |
1.2 มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร และอดทน ( ) | ||
จมม.(7) มคอ.2(1.2) มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร และอดทน | 1. สอนโดยการมอบหมายงาน 2. สอนโดยให้สะท้อนตนเอง (Self-Reflection) | สังเกตพฤติกรรมการส่งงาน |
1.3 มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกติกาขององค์กรและสังคม ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย ( ) | ||
จมม.(8) มคอ.2(1.3) มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกติกาขององค์กรและสังคม ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย | 1. สอนโดยการมอบหมายงาน 2. สอนโดยให้สะท้อนตนเอง (Self-Reflection) | สังเกตจากพฤติกรรมการมาเรียนและร่วมกิจกรรม |
1.5 มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจและความเสียสละ จิตอาสา จิตสาธารณะ ( ) | ||
จมม.(9) มคอ.2(1.5) มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจและความเสียสละ จิตอาสา จิตสาธารณะ | 1. สอนโดยการบรรยายสอดแทรก 2. สอนโดยการยกกรณีตัวอย่าง 3. สอนโดยการให้ทำโครงการบริการสังคมหรือชุมชน | สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานและเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา |
2. ความรู้ | ||
ความรู้ที่ต้องได้รับ | วิธีการสอน | วิธีการประเมินผล |
2.1 มีความรู้เกี่ยวกับตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ ( ) | ||
จมม.(10) มคอ.2(2.1) นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับตนเองทั้งด้านการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ | สอนโดยการบรรยาย | การทดสอบ |
จมม.(1) นิสิตสามารถบอกความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ | สอนโดยการบรรยาย | การทดสอบ |
จมม. (2) นิสิตสามารถบอกถึงปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยได้ | สอนโดยการบรรยาย | การทดสอบ |
2.4 มีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านกฎหมาย มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การเมือง การปกครอง ( ) | ||
จมม.(11) มคอ.2(2.4) นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม | สอนโดยการบรรยาย | การทดสอบ |
จมม.(3) นิสิตสามารถบอกความหมายและความสำคัญของการบริการวิชาการและการเป็นที่พึ่งของสังคมได้ | สอนโดยการบรรยาย | การทดสอบ |
3. ทักษะทางปัญญา | ||
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา | วิธีการสอน | วิธีการประเมินผล |
3.1 สามารถควบคุมและพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ดี ( ) | ||
จมม.(12). มคอ.2(3.1) สามารถควบคุมและพัฒนาตนเอง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ดี | สอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) | การสังเกต (จากผลงานหรือรายงาน) |
3.2 สามารถค้นหาข้อมูล/หลักฐาน รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย ลงความเห็น และสื่อความหมาย ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ ( ) | ||
จมม.(13) มคอ.2(3.2) สามารถค้นหาข้อมูล/หลักฐาน รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย ลงความเห็น และสื่อความหมาย ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ | 1. สอนโดยการบรรยายสอดแทรก 2. สอนโดยการให้ฝึกปฏิบัติ | การสังเกต |
3.3 มีทักษะการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีวิจารณญาณ สามารถคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต ( ) | ||
จมม.(14) มคอ.(3.3) มีทักษะการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีวิจารณญาณ สามารถคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นระบบ มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต | สอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) | การสังเกต (จากผลงานหรือรายงาน) |
3.4 มีทักษะในการทำงาน สามารถวางแผน จัดการ และปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดี สามารถบูรณาการความรู้และนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ( ) | ||
จมม.(15) มคอ.(3.4) มีทักษะในการทำงาน สามารถวางแผน จัดการ และปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดี สามารถบูรณาการความรู้และนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้ | 1. สอนโดยการให้อภิปรายกลุ่ม 2. สอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) | 1. การสังเกต 2. การสัมภาษณ์ |
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | ||
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา | วิธีการสอน | วิธีการประเมินผล |
4.1 เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( ) | ||
จมม.(16) มคอ.2(4.1) เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี | 1. สอนโดยการมอบหมายกลุ่ม 2. สอนโดยให้สะท้อนตนเอง | การสังเกต |
4.2 มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม มีจิตสาธารณะ ( ) | ||
จมม.(17) มคอ.2(4.2) มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม มีจิตสาธารณะ | 1. สอนโดยการมอบหมายงาน 2. สอนโดยใช้โครงการบริการสังคมหรือชุมชน (Service-based Learning) | การสังเกต |
4.4 มีทักษะความร่วมมือ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักเชื่อใจผู้อื่น ( ) | ||
จมม.(18) มคอ.2(4.4) มีทักษะความร่วมมือ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักเชื่อใจผู้อื่น | สอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน (Project-based Learning) | การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน หรือ สังเกตจากผลงานหรือชิ้นงาน |
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา | วิธีการสอน | วิธีการประเมินผล |
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
ครั้งที่ | หัวข้อ/รายละเอียด | จำนวนชั่วโมง | กิจกรรมการเรียนรู้/วิธีสอน/สื่อการสอนที่ใช้ | ผู้สอน |
1 | ชี้แจง จุดมุ่งหมายของรายวิชา แผนการสอน และแผนการประเมินผล (มคอ. 3) ละลายพฤติกรรม แบ่งกลุ่มนิสิต กำหนดกติกา เงื่อนไข การเรียนรู้ | 3 | 1) บรรยายประกอบสื่อ 2) เรียนโดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
2 | บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของหลักสูตร ปรัชญา วิสัยทัศน์ และค่านิยมของคณะ http://genedu.msu.ac.th/elearning/0035001/ | 3 | 1) ฟังบรรยายพิเศษจากผู้บริหารคณะ-วิทยาลัย หรืออาจารย์ผู้สอน หรือจากคลิปวิดีโอ 2) สอนโดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน 3) ให้อภิปรายกลุ่มย่อย 4) ให้ทำใบงานหรือใบสะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
3 | บทที่ 2 บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม http://genedu.msu.ac.th/elearning/0035001/ | 3 | 1)สอนแบบบรรยายประกอบสื่อ โดยเชิญวิทยากรที่มีผู้เชี่ยวชาญแนวคิดมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม และการเรียนรู้ชุมชน มาเป็นวิทยากรพิเศษ 2)ให้สะท้อนการเรียนรู้และนำเสนอ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
4 | บทที่ 3 การศึกษาชุมชน http://genedu.msu.ac.th/elearning/0035001/ | 3 | 1)เรียนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case Study) 2)เรียนโดยการระดมสมอง (Brain Storming)วิเคราะห์ปัญหาหรือพื้นที่ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่เป้าหมายเบื้องต้น 3)สอนแบบสาธิตและให้ลงมือทดลองปฏิบัติ ใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน 4)ให้สะท้อนการเรียนรู้และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
5 | สำรวจและศึกษาปัญหาชุมชน | 3 | 1)สอนโดยให้ลงมือปฏิบัติ สำรวจชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่เป้าหมาย 2)สอนให้จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน 3)ให้สะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
6 | สำรวจและศึกษาปัญหาชุมชน | 3 | 1)สอนโดยให้ลงมือปฏิบัติ สำรวจชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่เป้าหมาย 2)สอนให้จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน 3)ให้สะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
7 | วิเคราะห์ปัญหาและระดมสมองหาแนวทางแก้ไขปัญหา -มอบหมายให้เขียนเค้าร่างโครงการแก้ไขปัญหา | 3 | 1)สอนโดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน 2)ให้นิสิตแต่ละกลุ่มระดมสมองวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ 3)ให้นิสิตระดมสมองกำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไข 4)ให้สะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
8 | สอบกลางภาคเรียน | 2 | สอบกลางภาคเรียน | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
9 | นำเสนอร่างโครงการแก้ปัญหาชุมชน หรือ โครงการบริการชุมชน หรือ โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน | 3 | 1) ให้นำเสนอเค้าร่างโครงงานหรือโครงการแก้ปัญหา หรือโครงการพัฒนาเพื่อบริการชุมชนหรือบริการวิชาการ 2) สอนโดยการวิพากษ์และอภิปรายเค้าร่างโครงงานหรือโครงการฯ ของนิสิต 3)ให้สะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
10 | สืบค้นข้อมูล เตรียมลงพื้นที่ | 3 | 1) ให้สืบค้นข้อมูลออนไลน์หรือจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด 2) ให้นิสิตเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และแผนการลงพื้นที่ศึกษาชุมชน | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
11 | ลงพื้นที่ศึกษาพัฒนาชุมชน | 3 | 1) ลงพื้นที่ดำเนินงานตามแผนศึกษาชุมชน และแผนการของโครงการหรือโครงงาน 2) ให้ทบทวนการดำเนินงานและสะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
12 | ลงพื้นที่ศึกษาพัฒนาชุมชน | 3 | 1) ลงพื้นที่ดำเนินงานตามแผนศึกษาชุมชน และแผนการของโครงการหรือโครงงาน 2) ให้ทบทวนการดำเนินงานและสะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
13 | ลงพื้นที่ศึกษาพัฒนาชุมชน | 3 | 1) ลงพื้นที่ดำเนินงานตามแผนศึกษาชุมชน และแผนการของโครงการหรือโครงงาน 2) ให้ทบทวนการดำเนินงานและสะท้อนการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
14 | สรุปโครงงานหรือโครงการ และสร้างสื่อนำเสนอ | 3 | 1)ให้ระดมสมองเพื่อสรุปและประเมินโครงการหรือโครงงาน 2)มอบหมายงานให้สร้างสื่อเพื่อนำเสนอผลการดำเนินโครงการหรือโครงงาน | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
15 | นำเสนอผลงานระดับคณะ-วิทยาลัย | 3 | 1)นำเสนอผลงานระดับคณะ-วิทยาลัย 2)ให้นิสิตประเมินผลงานของกลุ่มอื่นๆ 3)คัดเลือกผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอระดับมหาวิทยาลัย | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
16 | นำเสนอผลงานในงานมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากรายวิชาฯ (วันนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากรายวิชา วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ) | 3 | ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากรายวิชา – ตัวแทนจากคณะ-วิทยาลัย ๆ ละ 1 ผลงาน นำเสนอบนเวทีและจัดนิทรรศการหน้าเวที – นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกระดับคณะเข้าร่วมนำเสนอผลงานของตนแบบโปสเตอร์และนิทรรศการ – นิสิตทุกคนร่วมประเมินผลงานผ่านใบประเมิน – นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกลงในแบบบันทึกการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
17 | นำเสนอผลงานในงานมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากรายวิชาฯ | 3 | ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้จากรายวิชา – ตัวแทนจากคณะ-วิทยาลัย ๆ ละ 1 ผลงาน นำเสนอบนเวทีและจัดนิทรรศการหน้าเวที – นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกระดับคณะเข้าร่วมนำเสนอผลงานของตนแบบโปสเตอร์และนิทรรศการ – นิสิตทุกคนร่วมประเมินผลงานผ่านใบประเมิน – นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกลงในแบบบันทึกการเรียนรู้ | อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน |
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
2. 1 การวัดผล
วิธีการประเมิน | สัปดาห์ที่ประเมิน | หมวดที่ 1 คุณธรรม จริยธรรม | หมวดที่ 2 ด้านความรู้ | หมวดที่ 3 ด้านทักษะทางปัญญา | หมวดที่ 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | หมวดที่ 5 ด้านการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี | สัดส่วนของการประเมินผล(%) |
1.สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ (การเข้าร่วมชั้นเรียนหรือชั้นเรียนออนไลน์)) | 10-15 | 2.1, | 3.2,3.3, | 4.2, | 10 | ||
2.ใบงานหรือใบกิจกรรมหรือทดสอบย่อย บทที่ 1-3 | 17-18 | 1.5, | 2.1, | 3.2,3.3,3.4, | 4.4, | 15 | |
3.ทดสอบกลางภาคเรียน | 1-17 | 1.1,1.2,1.3 | 3.1, | 4.1, | 20 | ||
4.มอบหมายงานเดี่ยว (ใบงานจากส่วนกลาง) | 1-5 | 2.4, | 3.3, | 4.2, | 25 | ||
5.โครงการกลุ่ม/โครงงานกลุ่ม | 8-9 | 2.4, | 30 | ||||
รวม | 100 |
2.2 การประเมินผล
ช่วงเกรด | เกรด |
80-100 | A |
75-79 | B+ |
70-74 | B |
65-69 | C+ |
60-64 | C |
55-59 | D+ |
50-54 | D |
0-49 | F |
หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. ตำราและเอกสารหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 0035001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน |
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญที่นิสิตจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม 1. ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน |
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำที่นิสิตควรศึกษาเพิ่มเติม 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ebooks) ในโครงการ One Book One Community (ออนไลน์). URL: http://www.sa.msu.ac.th/onecommunitymsuE-books/ebooks.php 10 พฤศจิกายน 2558 2. เอกสารและสื่อวีดีทัศน์จากฐานข้อมูลการบริหารจัดการโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน (ออนไลน์) URL: http://www.sa.msu.ac.th/onecommunity/ , Retrieved 2015 Sep 11. |
หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต 1. นิสิตประเมินประสิทธิผลของการเรียนการสอน ผ่านระบบประเมินอาจารย์ผู้สอนปลายเปิด 2. สำนักศึกษาทั่วไปทำวิจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวม กลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตในแต่ละรายวิชา |
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน 1. นิสิตทุกคนต้องเข้าประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบประเมินออนไลน์ |
3. การปรับปรุงการสอน 1. ประชุมอาจารย์ผู้สอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง |
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิตในรายวิชา 1. ประชุมพิจารณาผลการเรียนของแต่ละภาคเรียน 2. เข้าร่วมกระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของสำนักศึกษาทั่วไป ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง |
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา 1. ดำเนินการทบทวนปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา |
บทที่ 1
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
- นิสิตสามารถบอกความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้
- นิสิตสามารถบอกถึงปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยได้
วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน
- บรรยายพิเศษ
- ให้สะท้อนการเรียนรู้ (Learning Reflection)
การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
- การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
- การทดสอบกลางภาคเรียน
บทนำ
รากฐานของการมีจิตอาสาและจิตสาธารณะต่อการช่วยเหลือชุมชนและสังคมมาจากความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ความภาคภูมิใจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ นิสิตจำเป็นต้องเรียนให้รู้จักชุมชนและสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้รู้จักประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นกรณีศึกษาให้นิสิตได้ศึกษาชุมชนและสังคมที่ตนอาศัยอยู่อย่างละเอียด ก่อนจะนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาในชุมชนหรือสังคมต่อไป
เนื้อหา
- ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม
- ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ เกริกกฤษณ์ โชคชัย
รัชดาวุฒิกร กะตะสีลา ณัฐพล นาทันตอง และนราวิทย์ ดาวเรือง
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1.1 ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม
1.1.1 ประวัติการขยายตัวชุมชนเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2408-ปัจจุบัน (ทศวรรษ 2550)[1]
หอนาฬิกา |
จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางของภาคอีสาน จัดว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ มีพื้นที่ 5,291.68 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 961,658 คน[2] ประกอบด้วย 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอบรบือ อำเภอเชียงยืนอำเภอชื่นชมอำเภอวาปีปทุม อำเภอแกดำ อำเภอนาดูน อำเภอนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอยางศรีสุราช และอำเภอกุดรัง สำหรับเมืองหรือเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามจัดว่ามีขนาดเล็กเช่นกัน โดยเทศบาลเมืองมหาสารคามมีพื้นที่ 24.14 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 54,241 คน[3] ไม่มีตึก อาคารพาณิชย์ที่สูงๆไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้คนส่วนใหญ่ยังดำรงชีวิต เกี่ยวกับ การเกษตรคือ การปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง มหาสารคามจึงเป็นจังหวัดเล็ก ที่ไม่มีอะไรโดเด่นจนน่าสนใจ
มหาสารคามในปัจจุบันยังไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก กล่าวคือไม่ปรากฏว่ามีสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า มหาสารคามเป็นจังหวัดที่จัดอยู่ในกลุ่มของ “จังหวัดยากจน”ของประเทศ มหาสารคามมิใช่เมืองที่มีความสำคัญทางการปกครอง (กล่าวกันว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งระดับสูงของทางราชการ อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งข้าราชการระดับสูงตำแหน่งต่างๆ มักต้องมา “ฝึกงาน” ที่จังหวัดนี้ก่อนไปดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ณ จังหวัดสำคัญอื่นๆ) มหาสารคามไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะไม่มีภูเขา ไม่มีแหล่งน้ำใหญ่ที่สวยงามสำหรับเป็นที่พักผ่อน และมหาสารคามยังขาดนักธุรกิจที่จะมาลงทุนทางอุตสาหกรรมที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกัน มหาสารคามเป็นศูนย์กลางสำคัญแห่งหนึ่งทางการศึกษา สถาบันการศึกษาระดับสูง ประกอบด้วย หน่วยงานทางการศึกษาระดับต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยเกษตร สถาบันการ
พลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยพยาบาล ซึ่งสถาบันการศึกษาต่างๆเหล่านี้ทำให้มีผู้คนจำนวนมาก เข้ามาอาศัยในเมืองมหาสารคามเป็นช่วง ๆ ในลักษณะ “ประชากรแฝง” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้มหาสารคามกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงแบบสมัยใหม่ซึ่งกำลังมีบทบาทมากขึ้นทุกที
ตึกดิน |
การเปลี่ยนแปลงภายในเมืองดำเนินไปอย่างช้า ๆ ดังกรณีของสิ่งก่อสร้างในอดีต เช่นอาคาร ซึ่งมีอายุนับร้อยปี เรียกว่า “ตึกดิน” บริเวณริมถนนนครสวรรค์ซึ่งเป็นถนนสายหลัก เริ่มได้รับความชิงชังจากคนรุ่นหลัง ตึกดินหลายห้องได้รับการทำลายและกลายเป็นตึกสมัยใหม่แทน บ้านไม้อายุเก่าแก่ได้ถูกรื้อถอนกลายเป็นตึกอาคารพาณิชย์ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองมหาสารคามโดยไม่สนใจที่จะเหลืออดีตไว้ให้คนรุ่นหลังได้ภูมิใจ มหาสารคามจึงเป็นตัวอย่างของเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรโดดเด่นแต่มีประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษา และอาจเป็นตัวอย่างให้กับเมืองเล็ก ๆ ที่ไม่น่าสนใจอีกหลายเมืองในภูมิภาคนี้ สำหรับการศึกษาเพื่อเข้าใจชีวิตของผู้คนกับความเปลี่ยนแปลงเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนา ในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ของความเป็น “ลาว”อีสาน เพราะโดยทั่วไปการศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองมักไม่เห็นภาพของผู้คนในมิติเวลา และดูจะเป็นเรื่องเล่ามากกว่าประวัติศาสตร์
ในการศึกษาเรื่องการขยายตัวของชุมชนเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามได้ใช้วิธีการศึกษาของประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral history) ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุสองประการ ประการแรก หลักฐานต่างๆ ในรูปของเอกสารตัวเขียนมีปรากฏน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องใช้การสัมภาษณ์ผู้รู้ เพื่อทราบประวัติของเมือง ประการที่สอง โดยทั่วไปการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ไม่นิยมการใช้วิธีการแบบประวัติศาสตร์บอกเล่า แต่มักเน้นการใช้หลักฐานเอกสาร โดยเฉพาะเอกสารทางราชการของรัฐ ในกรณีของการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นซึ่งขาดแคลนเอกสารตัวเขียน ประวัติศาสตร์บอกเล่าจึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการศึกษาได้เป็นอย่างดี และควรจะเริ่มต้นดำเนินการกับท้องถิ่นต่างๆ เพื่อจะได้ภาพของสังคมนั้นๆ โดยเฉพาะชีวิต และความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ของผู้คนในท้องถิ่นดังที่บทความนี้ได้พยายามจะกระทำ
1.1.2 สภาพทั่วไปและเมืองมหาสารคามก่อนตั้งเมือง พ.ศ. 2408
หม้อใส่กระดูก |
เมืองเชียงเหียน |
บริเวณที่เป็นจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบันเดิมเคยมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วมาแล้วนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคโลหะตอนปลาย หรือประมาณ 2,000 ปีที่ผ่านมา รายงานการขุดค้นที่อำเภอกันทรวิชัย รายงานการขุดค้นที่บ้านเชียงเหียน ในปี พ.ศ. 2522 พบแคปซูลที่ฝังศพคน ภาชนะดินเผา พวกหม้อไห สำริด เหล็ก ลูกปัด กระดูกสัตว์ โดยเฉพาะ ควาย นอกจากนี้ยังพบพื้นที่ที่มีคูน้ำคันดินลักษณะรูปวงรี หรือรูปไข่ บนเนินสูง พบซากเจดีย์ พระพุทธรูปศิลา พระพิมพ์ดินเผา รวมทั้งพระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ ในหลายพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม อาทิ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอนาดูน อำเภอเมือง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นศิลปะและวัฒนธรรมสมัยทวาราวดี หรือ ประมาณ 1,200 ปีที่ผ่านมา นอกจากศิลปะแบบทวาราวดีแล้วยังพบหลักฐานที่แสดงถึงศิลปะและวัฒนธรรมแบบเขมรซึ่งมีอายุประมาณ 800 – 1,000 ปีที่ผ่านมา หลักฐานในวัฒนธรรมเขมรที่โดดเด่นได้แก่ โบราณสถานที่เป็นปราสาทหิน หรือ กู่ โบราณสถานเหล่านี้มักเป็นอาคารก่อสร้างด้วยหินประเภทต่าง ๆ อาทิ หินทราย ศิลาแลง นอกจากนั้นยังพบรูปเคารพในลัทธิพราหมณ์ ที่พบเสมอ ๆ คือ รูปเคารพในการบูชา พระศิวะ ได้แก่ ศิวะลึงค์ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้เปลี่ยนมาบูชาพระโพธิสัตว์ ในลัทธิพุทธศาสนา แบบ มหายานแทน ดังนั้นจึงพบรูปเคารพทั้งในลัทธิพราหมณ์ และพุทธศาสนาลัทธิมหายาน โบราณสถานที่เป็นที่ทราบกันดีเช่น กู่สันตรัตน์ที่อำเภอนาดูน กู่บ้านเขวา
พระธาตุนาดูน |
พระยืนกันทรวิชัย |
กู่ |
อำเภอเมือง กู่บัวมาศ ที่อำเภอบรบือ กู่แก้วที่อำเภอกันทรวิชัย เป็นต้น[4] และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา พวกกลุ่มลาวได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมั่นคงจนตั้งเมืองมหาสารคามขึ้นในปี พ.ศ. 2408 มหาสารคามจึงเป็นดินแดนที่มีผู้คนตั้งหลักแหล่งมานานกว่าสองพันปี มีทั้งความเก่าและมีวัฒนธรรมหลายยุคสมัย
1.1.3 การขยายตัวเมืองมหาสารคาม ยุคแรก โดยบทบาทของเจ้าเมือง พ.ศ. 2408-2455
ก่อนการตั้งเมืองมหาสารคามในปี พ.ศ. 2408 เชื่อว่ามีผู้คนเป็นชุมชนเล็ก ๆ อาศัยอยู่แถบนี้มาก่อน บริเวณคุ้มบ้านจารย์ หรือ บ้านจาน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ วัดอภิสิทธิ์และวิทยาลัยอาชีวะ ใกล้ ๆ กุดนางใย หรือกุดยางใหญ่ บริเวณนี้คงจะมีผู้คนอยู่แล้วบ้าง (ต่อมา บริเวณกลางหมู่บ้านมีบริเวณโล่งกว้าง เป็นพื้นที่ใช้ทำพิธีกรรมต่าง ๆ เรียกว่า “เดิ่นบ้านใหญ่”[5] นอกจากนี้ บริเวณทางใต้ของเมืองอาจมีผู้คนอาศัยอยู่แถบริมห้วยคะคาง บ้านหนองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลปู่พึ่ม นอกจากนี้บริเวณเมืองท่าขอนยาง และเมืองอื่น ๆ ในแถบนี้ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์เรื่อยมา
แผนที่ตั้งเมืองมหาสารคามในอดีต โดยภาพอนุเคราะห์จาก รศ. ธีรชัย บุญมาธรรม |
เมืองมหาสารคามเกิดจากการแยกตัวออกจากเมืองร้อยเอ็ดโดยขอตั้งเป็นเมืองในปี พ.ศ. 2408 ( ผู้คนจากเมืองจำปาศักดิ์มาสร้างเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2256 และผู้คนจากเมืองสุวรรณภูมิแยกตัวมาสร้างเมืองร้อยเอ็ด และเมืองอื่นๆ ) ในปีพ.ศ. 2402 พระขัตติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดได้ให้ท้าวมหาชัย (กวด) บุตรอุปฮาตสิงห์ เมืองร้อยเอ็ด และท้าวบัวทอง บุตรอุปฮาต (ภู่) สำรวจดินแดนทางทิศตะวันตกของเมืองร้อยเอ็ดเพื่อขอตั้งเมืองใหม่ และเมื่อเลือกที่ตั้งได้แล้ว ท้าวมหาชัย (กวด) และท้าวบังทองได้แบ่งผู้คนจากเมืองร้อยเอ็ด ประมาณ 9,000 คน มายังเมืองใหม่ และ ในปี พ.ศ. 2402 ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังกรุงเทพฯ ต่อมา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านลาดกุดยางใหญ่” หรือ “บ้านลาดกุดนางใย” เป็นเมืองมหาสารคาม พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก[6] นับตั้งแต่นั้นมาเมืองมหาสารคามได้เริ่มเจริญขึ้นเนื่องจากมีผู้คนอพยพมาสมทบ อันมีผลให้เมืองมหาสารคามได้ขยายตัวไปเป็นระยะๆ ในเวลาต่อมา
ในเรื่องเกี่ยวกับชื่อเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม เสนอความเห็นว่า ชื่อเมืองที่ถูกต้องควรเป็น “มหาสาลคาม” โดยแปลจากข้อความ “กุดยางใหญ่” ดังนี้
“มหา” ตรงกับคำว่า ใหญ่
“สาละ” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง จำพวกต้นรังซึ่งจัดอยู่ในตระกูล ไม้ยาง ดังนั้นคำว่า “ยาง” น่าจะถูกดัดแปลงเป็น สาละ ซึ่งเป็นไม้ตระกูลยางชนิดหนึ่งและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ด้วยพระนางสิริมหามายา ได้ประสูติพระพุทธเจ้าใต้ต้นสาละ โดยได้ทรงใช้พระหัตถ์เหนี่ยวกิ่งต้นสาละไว้
กุดนางใยหรือ กุดยางใหญ่ |
“คาม” หมายถึง ที่อยู่อาศัยของชุมชน ที่แปลเช่นนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเข้าพระทัยว่า “กุด” ( ความหมายท้องถิ่น แปลว่า ลำน้ำด้วน คือ สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน ทำให้สายน้ำเดิมกลายเป็นลำน้ำด้วน ลักษณะเดียวกับทะเลสาบ ) เป็นคำเดียวกับคำว่า “กุฎิ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่อาศัย เนื่องจากพระองค์ทรงสร้าง กุฏิ ไว้เป็นที่ประทับสำหรับทรงบำเพ็ญภาวนาและสมาธิ กุฏิจึงมีลักษณะคล้ายถ้ำเล็กๆซึ่งทรงสร้างไว้บริเวณ พระราชวังปทุมวัน (ซึ่งต่อมาส่วนหนึ่ง คือวัง เพ็ชรบูรณ์ ในเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 และ สมด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ) และใช้คำว่า คาม แปลว่าที่อยู่อาศัยซึ่งหมายถึง ชุมชนแทน (ความคิดในการแปลคำเช่นนี้ได้เกิดขึ้นกับ กรณี “บ้านกุดลิง” ซึ่งต่อมาเป็น เมืองวานรนิวาส)[7]
อนุสาวรีย์ท้าวมหาชัยเจ้าเมืองมหาสารคาม |
ศาลหลักเมือง |
ก่อนตัดสินใจตั้งเมืองมหาสารคามบริเวณกุดยางใหญ่ (ต่อมาคงจะเพี้ยนเป็น กุดนางใย ตามความเชื่อของคนท้องถิ่นในภายหลัง ที่เล่าขานกันว่า นางใย ธิดาเจ้าเมืองเชียงเหียนในอดีต (น่าจะประมาณหนึ่งพันปีที่ผ่านมา) ชอบมาเล่นน้ำ ณ หนองน้ำแห่งนี้เนื่องจากน้ำใสสะอาด แต่ครั้งหนึ่งขณะเล่นน้ำอยู่ได้มีจระเข้มาคาบนางใยไป ผู้คนเลยเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า กุดนางใย บริเวณกุดนางใยมีจระเข้ชุกชุมมาตั้งแต่อดีต ปรากฏว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดพาคนมายิงจรเข้บริเวณกุดแห่งนี้ ) ผู้นำในการสร้างเมืองมีความเห็นที่จะตั้งเมืองในสถานที่ต่างกัน ท้าวมหาชัย (กวด) ได้คิดตั้งเมืองบริเวณที่เป็นเนินสูง คือบริเวณที่เป็นโรงเรียนหลักเมืองในปัจจุบัน โดยได้ลงเสาหลักเมืองไว้และหวังว่าเมืองจะขยายไปจนจรดเส้นทางทางน้ำธรรมชาติ กล่าวคือ ทางทิศตะวันตกจดห้วยคะคาง ส่วนทางทิศตะวันออกจะขยายเมืองมาถึงบริเวณที่เป็นกุดนางใยและหนองกระทุ่ม ประมาณ 6 เดือนต่อมาท้าวมหาชัย (กวด) พบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่ดอน ขาดแคลนน้ำจึงหาที่ตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายที่ตั้งไปทางทิศตะวันออกคือบริเวณกุดนางใย และหนองกระทุ่ม ซึ่งมีชุมชนจำนวนหนึ่งตั้งบ้านเรือนบริเวณแถบนี้อยู่ก่อนแล้ว ส่วนที่อาศัยเดิมนั้นต่อมาได้สร้างวัดขึ้นแทน คือ “วัดดอนเมือง” แต่ชาวเมืองเรียกว่า “วัดเข้าเฮ่า” และต่อมากลายเป็น วัดธัญญาวาส ในปัจจุบัน[8] ดังนั้นความเจริญของมืองมหาสารคามระยะแรกๆ จึงเริ่มจากบริเวณกุดนางใยจนถึงหนองกระทุ่ม และทิ้งที่ตั้งเดิมบริเวณศาลหลักเมืองเป็นป่าทึบอยู่เป็นเวลานาน[9]
ส่วนท้าวบัวทอง อุปฮาตเมืองมหาสารคามเห็นว่าที่ตั้งเมืองมหาสารคามควรเป็นที่ บ้านลาดซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชีเหมาะสมกว่าบริเวณกุดนางใย เนื่องจากอาจใช้เมืองมหาสารคามเป็นท่าเรือสินค้าได้ (บ้านลาดห่างจากกุดนางใยประมาณ 8 กิโลเมตร) ท้าวบัวทองจึงได้ตั้งบ้านเรือนบริเวณดังกล่าว ซึ่งทราบกันในนามว่า”บ้านอุปฮาต” (ต่อมาบ้านลาดหรือบ้านอุปฮาตนี้ร้างไป และในช่วงปี พ.ศ. 2490 บ้านลาดได้เกิดชุมชนใหม่อีกครั้งหนึ่ง) ด้วยเหตุที่ท้าวมหาชัย (กวด) และท้าวบัวทองได้เสนอที่ตั้งเมืองมหาสารคามในสองบริเวณ พระขัตติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด จึงได้ทำหนังสือขอพระราชทานตั้งบ้านลาดกุดนางใย หรือ บ้านลาดกุดยางใหญ่ เป็นเมืองมหาสารคาม[10]
ชุมชนใหม่ของเมืองมหาสารคามอยู่บริเวณกุดนางใยจนถึงบริเวณทางทิศเหนือของหนองกระท่ม หรือหนองท่ม หรือหนองกระทุ่มซึ่งเป็นที่ตั้งวัดโพธิ์ศรีในปัจจุบัน (วัดโพธิ์ศรีสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2425 สมัยของพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่สอง พ.ศ. 2422-2443) โดยทั่วไปชุมชนอาศัยอยู่เป็นคุ้มโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองคนแรกได้สร้างวัดหลายแห่ง ได้แก่ วัดกลาง หรือ วัดอภิสิทธิ์ ( ชื่อ “อภิสิทธิ์” เป็นนามของหลวงอภิสิทธิ์มหาสารคาม นายอำเภอคนแรกของเมืองมหาสารคาม) ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกกุดนางใย และ วัดเหนือ (วัดมหาชัย) จากการสัมภาษณ์นางอร วหุโต เล่าให้ฟังว่าตนเคยได้รับทราบจากผู้ใหญ่ ของตนว่า บริเวณวัดบ้านนางใย หรือวัดอุทัยทิศ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกุดนางใย เดิมเคยมีชุมชนอาศัยหนาแน่นพอควร แต่ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ ผู้คนเลยอพยพมาตั้งบ้านเรือนบริเวณวัดกลางคือ วัดอภิสิทธิ์ และมักไม่นิยมข้ามกุดนางใยไปทางทิศตะวันออก เนื่องจากผู้คนไม่กล้าเดินข้ามสะพานไม้เล็ก ๆ ข้ามกุดนางใย เพราะกุดนางใยในขณะนั้นมีจระเข้ชุกชุม และดุร้ายมาก จระเข้เหล่านี้มักชอบทำร้ายผู้คนที่เดินข้ามสะพานไม้ รวมทั้งผู้คนที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้ด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2478 เกิดน้ำท่วมใหญ่ และไม่ปรากฏจระเข้ในหนองน้ำนี้อีก[11] และเมื่อสร้างวัดกลาง หรือวัดอภิสิทธิ์ พระเจริญราชเดช (กวด) ได้นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นสามเณรด้วยกันให้ดำรงตำแหน่งพระครูสุวรรณศรีศีลสังวรญาณ ตำแหน่งพระครูหลักคำ เจ้าคณะเมือง จำพรรษา ณ วัดอภิสิทธิ์ บริเวณวัดอภิสิทธิ์ จึงเป็นแหล่งชุมชนอีกแห่งหนึ่ง ในขณะที่ชุมชนกลุ่มสำคัญอยู่บริเวณหนองกระทุ่ม (วัดโพธิ์ศรี) และความเจริญของชุมชนได้ขยายตัวไป จนเชื่อมต่อกับความเจริญของชุมชนจากบริเวณวัดอภิสิทธิ์
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เมืองมหาสารคามในระยะแรกคือราว 150 ปีที่ผ่านมามีศูนย์กลางความเจริญตั้งแต่บริเวณคุ้มวัดอภิสิทธิ์ จนถึงบริเวณหนองกระทุ่ม(ต่อมาเป็นคุ้มวัดโพธิ์ศรี) และคุ้มวัดมหาชัย (วัดมหาชัย สร้างโดยพระเจริญราชเดช (กวด) ในปี พ.ศ. 2409) บริเวณหนองกระทุ่มทางทิศเหนือ (คุ้มวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน)เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ คุ้มเจ้าเมือง ร้านค้า บ้านเรือนราษฎรและตลาด คุ้มเจ้าเมืองในระยะแรกตั้งอยู่บริเวณทางทิศตะวันตกของหนองกระทุ่ม ใกล้กับห้วยคะคาง (ปัจจุบันเป็นสำนักงานพาณิชย์จังหวัดมหาสารคาม ) ส่วนราษฎรตั้งบ้านเรือนทำด้วยไม้รวมอยู่กันเป็นคุ้ม ร้านค้าตั้งอยู่บริเวณสองฝั่งถนนจากหน้าวัดโพธิ์ศรี ไปยังถนนนครสวรรค์ คือถนนเจริญราชเดช1 ในปัจจุบัน ร้านค้าเหล่านี้ทำด้วยดินเหนียวหรือที่เรียกกันว่า “ ตึกดิน ” ตึกดินรุ่นแรกที่ยังปรากฏอยู่ริมถนนเจริญราชเดช 1 มีจำนวน 4 ห้องโดยมี นายชื่นชัย วรามิตร เป็นเจ้าของและยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ ณ บ้านเลขที่ 1082 ถนนเจริญราชเดช 1 อย่างไรก็ตาม นายประพิส ทองโรจน์ ได้กล่าวว่า ตึกดินที่บ้านนายชื่นชัย วรามิตร ในปัจจุบันยังมิใช่ตึกดินที่มีอายุเก่าที่สุด ตึกดินฝั่งตรงข้ามเยื้องบ้านนายชื่นชัย วรามิตร ปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นของเถ้าแก่อู๋ ดูจะเก่ากว่า แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว[12] ส่วนตลาดอยู่บริเวณถนนเจริญราชเดช 1 ตัดกับถนนนครสวรรค์ โดยพ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่นนำสินค้าต่างๆมากองไว้กับพื้น สินค้าได้แก่ พืช ผัก ข้าวสาร รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้เล็กๆน้อยๆ[13] พ่อค้าที่ตั้งร้านขายของบริเวณตึกดินสองฝั่งถนนเจริญราชเดช 1 (ถนนเป็นดินทราย) ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ชาวจีนมาจากหลายแห่งทั้งจากจังหวัดร้อยเอ็ด และนครราชสีมา ชาวจีนได้ยึดอาชีพค้าขาย ทั้งสินค้าเบ็ดเตล็ดและเสื้อผ้า เมื่อเริ่มสร้างฐานะทางเศรษฐกิจชาวจีนกลุ่มนี้ได้เชื่อมโยงกับทั้งผู้คนและผู้นำท้องถิ่น ด้วยการแต่งงาน ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเจริญให้กับเมืองมหาสารคาม การค้าขายแบบใหม่ซึ่งต่างจากการค้าขายแบบท้องถิ่น มีผลให้ เกิดการขยายตัวของร้านค้าและธุระกิจ ดังเห็นได้จากกรณีการเกิดโรงแรมชื่อ “ โรงแรมปักตง ” นับเป็นโรงแรมแห่งแรกของเมืองมหาสารคาม[14] จึงอาจกล่าวได้ว่า ศูนย์ความเจริญสำคัญของเมืองมหาสารคามระยะแรกอยู่บริเวณถนนเจริญราชเดช 1
การขยายตัวของชุมชนเมืองมหาสารคามในระยะแรกๆ ดูจะสอดคล้องกับผู้นำ กล่าวคือ หลังจากที่พระเจริญราชเดช(กวด) เจ้าเมืองคนแรกถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2421 พระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองคนที่สอง
(พ.ศ. 2422-2443) ได้ย้าย “โฮงเจ้าเมือง” หรือบ้านเจ้าเมืองมายังถนนนครสวรรค์ บริเวณหัวมุมถนนคณาภิบาลทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านเลขที่ 1422 ถนนนครสวรรค์เมื่อเป็นเช่นนี้ร้านค้าและการขยายตัวของชุมชนจึงเริ่มกระจายออกจากถนนเจริญราชเดช 1 ไปทางทิศตะวันตกของถนนนครสวรรค์
ประมาณ 110 ปี ที่ผ่านมาสมัยของพระเจริญราชเดช(อุ่น) เจ้าเมืองมหาสารคาม คนที่สาม (พ.ศ. 2446 – 2455 ) ได้ย้ายโฮงเจ้าเมือง หรือที่ผู้คนเรียกกันว่า “โฮงญาพ่อหลวง” ไปอยู่ฝั่งตรงข้าม เยื้องไปทางตะวันออก ของโฮงเจ้าเมืองคนเดิมคือพระเจริญราชเดช (ฮึง) กล่าวกันว่าโฮงเจ้าเมืองเป็นเรือนไม้สองชั้น ทาสีแดง ด้านหลังมีบันไดเวียน มีรั้วไม้สูง ต่างจากเรือนทั่วไป[15] เมืองมหาสารคามได้ขยายตัวออกจากบริเวณคุ้มวัดโพธิ์ศรีไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนนครสวรรค์ ซึ่งเป็นถนนดินทรายเช่นเดิมมาจนถึงบริเวณที่เป็นสี่แยกธนาคารกรุงเทพฯในปัจจุบัน คือช่วงตัดระหว่างถนนนครสวรรค์กับถนนวรบุตร แล้ว สาเหตุการขยายตัวของชุมชนเมืองมหาสารคามอาจเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ คือ ประการแรก การย้ายโฮง หรือ บ้านเจ้าเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้คนขยายตัวตามความเจริญของศูนย์กลางอำนาจของเมือง ประการที่สอง การอพยพเข้ามาของชาวร้อยเอ็ดเป็นระยะๆ ดังเช่นในปี พ.ศ. 2415 ประชาชนเมืองร้อยเอ็ดจำนวนมากได้อพยพจากเมืองร้อยเอ็ดมายังมหาสารคามเนื่องจากผุ้ปกครองเมืองคือ พระขัตติยวงศา (สาร) ข่มเหงราษฎรอยู่เสมอ[16] และประการที่สาม คือ การเข้ามาของคนจีน คนจีนได้อพยพเข้ามามากขึ้นเพื่อทำการค้าขาย ตระกูลคนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานช่วงแรก ๆ ได้แก่ เถ้าแก่จุ้ย ต้นตระกูลศรีสถิตย์ นายไช่บุ๊น แซ่เอ็ง ต้นตระกูล เสรรัตน์ นายเป็งกิ้ม แซ่ตัง จากมณฑลกวางตุ้ง ต้นตระกูล นาคะพงษ์ นายเป็งกิ้ม แซ่ตั้ง จากมณฑลแต้จิ๋ว ต้นตระกูล ทองโรจน์ นายฮ้วง แซ่เต็ง ต้นตระกูลแสงมหาชัย นายเอี๋ย ต้นตระกูล อัตถากร[17] คนจีนที่เข้ามาค้าขายทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองมหาสารคามในเวลาต่อมา
1.1.4 การขยายตัวเมืองมหาสารคามโดยบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ. 2455-2510
ในปี พ.ศ. 2455 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ( พ.ศ. 2453-2468 ) โปรดให้ผู้ว่าราชการเมือง (ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งถูกคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นผู้ปกครองแทนเจ้าเมืองเดิม สำหรับจังหวัดมหาสารคาม กระทรวงมหาดไทยได้ส่ง หม่อมเจ้า นพมาศ นวรัตน์ฯ มาเป็นผู้ว่าราชการฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2455-2459 และมีผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 45 คน[18] หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกได้เริ่มย้ายหน่วยงานทางราชการเดิมซึ่งเคยปฏิบัติงาน ณ โฮงเจ้าเมืองหรือบ้านเจ้าเมือง ให้ไปยังสถานที่ใหม่ โดยทรงสร้าง ณ บริเวณที่ทำการที่เป็นศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ใกล้กับศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2461พระยาสารคามคณาภิบาล (พร้อม ณ นคร) ได้จัดสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้น เพราะสถานที่เดิมคับแคบ และเมื่อ พระยาสารคามคณาภิบาล (ทิพย์ โรจนประดิษฐ์) มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ได้จัดสร้างศาลากลางหลังใหม่ และสำเร็จสมัยผู้ว่าฯ พระประชากรบริรักษ์ ( สาย ปาลนันท์ ) ในปี พ.ศ. 2467 ซึ่งอาคารศาลากลางหลังนี้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2495 อาคารศาลากลางคอนกรีตหลังใหม่ สร้างในปี พ.ศ. 2495 และเสร็จในหนึ่งปีถัดมา และใช้จนถึงปี พ.ศ. 2540 จึงย้ายสถานที่ราชการไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองตามเส้นทางไปจังหวัดบุรีรัมย์[19]
การก่อสร้างสถานที่ราชการใหม่ๆจึงเริ่มเกิดขึ้นพร้อมและหลังการก่อสร้างศาลากลางเมือง อาคารทางราชการใหม่ๆ จึงทยอยเกิดขึ้น เช่นการก่อสร้าง จวนผู้ว่าราชการ โรงเรียน เรือนจำ และหน่วยงานราชการอื่น ๆ การสร้างหน่วยราชการใหม่ๆ เป็นผลให้เกิดการขยายตัวทั้งสถานที่ราชการและการตั้งหลักแหล่งของชุมชนบริเวณสถานที่ราชการนั้นๆ ผู้คนเริ่มอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณสถานที่ราชการใหม่ ๆ และต่อมากลายเป็นคุ้มหรือที่อยู่ของชุมชนที่มีขนาดใหญ่แยกจากชุมชนเดิม การขยายตัวของชุมชนเริ่มจากเส้นทางที่เป็นโฮงเจ้าเมืองมายังบริเวณศูนย์ราชการใหม่ ตามแนวทางทิศตะวันตกของถนนนครสรรค์ มีผลให้ตลาดการค้าได้ย้ายจากบริเวณถนนเจริญราชเดช 1 ไปใกล้ ๆ กับโฮงเจ้าเมือง ถนนนครสวรรค์ (ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาพยนต์ 4711 และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงภาพยนต์แสงเจริญรามาในปัจจุบัน) ชาวเมืองมหาสารคาม เรียกชื่อตลาดนี้ว่า “ตลาดสี่กั๊ก” ลักษณะตลาดยังคงเป็นเช่นเดิมคือ วางสินค้าต่างๆ บนพื้นถนน จนในปี พ.ศ. 2458 หม่อมเจ้า นพมาศ นวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามได้ทรงแนะนำพระเจริญราชเดช (อุ่น) ให้ดำเนินการสร้างตลาดสดขึ้นให้ถูกต้องตามหลักการ เพราะตลาดสดในขณะนั้นขายของสดอยู่กลางถนน กีดขวางทางจราจรและไม่ถูกหลักอนามัย เมื่อสร้างตลาดแล้วเสร็จ หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ ทรงเรียกชื่อตลาดนี้ว่า “ตลาดเจริญ”ตามนามของพระเจริญราชเดช ตลาดนี้ได้รื้อและสร้างใหม่อีกหลายครั้งจนภายหลังชาวเมืองมหาสารคามบางกลุ่มเรียกชื่อตลาดนี้ว่า “ตลาดนายฮวด” (นายฮวด ทองโรจน์) ตลาดสดแห่งนี้ได้ดำเนินการมาจนถึงปี พ.ศ. 2488
นายฮวด ทองโรจน์ ได้ย้ายตลาดสดไปยัง “ตลาดของเรา” หรือตลาดสดเทศบาลจนถึงปัจจุบัน[20] การที่คุ้มเจ้าเมืองและตลาดสดย้ายจากบริเวณถนนเจริญราชเดช มีผลให้สองฝั่งถนนนครสวรรค์ (ด้านตะวันตกของเมืองเดิม) เริ่มปรากฏมีตึกดินเป็นร้านค้า จนสุดบริเวณถนนนครสวรรค์ตัดกับถนนวรบุตร หรือสี่แยกไฟแดงธนาคารกรุงเทพในปัจจุบัน ถัดมาจึงเป็นสถานที่ราชการ
ประมาณกว่า 90 ปีที่ผ่านมา เมืองมหาสารคามได้พยายามขยายไปทางทิศตะวันตกจนถึงบริเวณห้วยคะคาง ถึงแม้พื้นดินส่วนใหญ่ยังเป็นป่าแต่สถานที่ต่างๆ ได้เริ่มปรากฏขึ้นบ้างดังเช่น ในปี พ.ศ. 2465 ได้มีการเปิดสนามบินบริเวณหนองข่า บริเวณศูนย์เครื่องมือกลและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( พื้นที่ในเมือง หรือเรียกกันว่า ม.เก่า ในปัจจุบัน) สนามบินสร้างขึ้นเพื่อให้เครื่องบินขนส่งพัสดุไปรษณียภัณฑ์ โดยใช้เครื่องบินชนิดเบรเกต์ปีกสองชั้น ขนพัสดุมาจากนครราชสีมา โดยใช้สนามบินแห่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2472 จากสนามบินได้เปลี่ยนมาเป็นสนามม้า ระหว่างปี พ.ศ. 2502-2514 จนวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2515 และเป็นสนามกีฬาของสถาบัน และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสุทธาเวส คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[21]
ในปี พ.ศ. 2467 ได้สร้างโรงเรียนสารคามพิทยาคมแทนการเรียนการสอนที่เคยกระทำมา ณ วัดโพธิ์ศรี โรงเรียนสารคามพิทยาคม ตั้งอยู่บริเวณถัดจากศาลากลางและศาล นอกจากนี้ยังได้สร้างโรงเรียนกสิกรรม แต่ชาวเมืองมหาสารคามบ้างเรียก ” โรงเรียนปั่นปอ ” อยู่ด้านหลังโรงเรียนสารคามพิทยาคม(บริเวณโรงเรียนอนุบาลมหาสารคามในปัจจุบัน) โรงเรียนสตรีที่ตั้งขึ้นหลังการตั้งโรงเรียนสารคามพิทยาคมคือโรงเรียนผดุงนารี โดยในปี พ.ศ. 2470 มีเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว และต่อมาในปี พ.ศ. 2480 จึงมีอาคารเป็นตึก ( เดิมโรงเรียนสตรี คือโรงเรียนผดุงนารี ได้ตั้งบริเวณที่เป็นโรงเรียนชายหรือโรงเรียนสารคามพิทยาคมในปัจจุบัน ต่อมามีการแยกย้ายที่ตั้ง ให้โรงเรียนสตรีย้ายไปตั้งในเมืองคือที่ตั้งปัจจุบัน และให้โรงเรียนชาย คือ โรงเรียนสารคามพิทยาคมซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนผดุงนารีในปัจจุบันย้ายมาตั้งด้านนอก เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนสตรีเดิมเป็นที่เปลี่ยว เป็นป่ารก[22] ดังนั้นบริเวณที่เคยเป็นป่าได้รับการพัฒนาให้เป็นสถานศึกษาแต่เมื่อพ้นเขตสถานที่ดังกล่าวก็ยังเป็นป่าเช่นเดิม
ความเจริญจากภายนอกดูจะเริ่มปรากฏให้เห็นจากการสร้างถนนเชื่อมระหว่างเมือง ในปี พ.ศ. 2466 ได้เริ่มสร้างเส้นทางจากเมืองขอนแก่นมายังอำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2468 ได้ก่อสร้างเส้นทางจากมหาสารคามถึงบ้านไผ่ อันเป็นสถานีรถไฟขนส่งสินค้าไปยังนครราชสีมาและกรุงเทพฯ นอกจากนี้บริเวณรอบๆ เมืองมหาสารคาม ได้มีการสร้างสะพานข้ามห้วยคะคางและแหล่งน้ำอื่นๆ ในปี พ.ศ. 2470 ได้สร้างทำนบ “สำเร็จดำริ” อันเป็นเส้นทางข้ามห้วยคะคางเพื่อติดต่อกับขอนแก่น[23] อย่างไรก็ตามบริเวณถนนสายต่างๆ หามีการตั้งบ้านเรือนดังเช่นปัจจุบันไม่ วัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนคงปรากฏคือ วัดอภิสิทธิ์ (วัดกลาง) วัดโพธิ์ศรี วัดมหาชัย (วัดเหนือ) วัดบ้านส่อง วัดอุทัยทิศ (วัดกุดนางใย) ส่วนวัดนาควิชัย (วัดทุ่ง) วัดธัญญาวาส (วัดบ้านเข้าเฮ่า) และวัดปัจฉิมทัศน์(วัดหนองข่า) เป็นวัดที่ยังไม่ปรากฏชุมชนโดยรอบ
ความเจริญบนถนนนครสวรรค์ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 หรือประมาณ 85 ปีที่ผ่านมา โดยเมืองได้ขยายไปทางทิศตะวันตกมากขึ้น นายประพิส ทองโรจน์ เล่าให้ฟังว่า ตระกูลทินขาวซึ่งเป็นบรรพบุรุษ ฝ่ายข้างมารดาได้มาสร้างตึกชั้นเดียว บริเวณหัวมุมที่เป็นธนาคารกรุงเทพฯในปัจจุบัน และเป็นเจ้าของตึกดินหลายห้องบริเวณถนนนครสวรรค์ ซึ่งเป็นเขตความเจริญสุดถนนของเมือง ฝั่งตรงข้ามซึ่งปัจจุบันเป็นสถานีตำรวจภูธรเมืองมหาสารคาม ยังเป็นป่าและกล่าวกันว่ามีเสืออาศัยอยู่[24] ไปจนถึงศาลหลักเมืองและถัดไปเป็นป่าอีกเช่นกันจนถึง บ้านท่าขอนยาง ริมแม่น้ำชี ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2457 ได้เริ่มมีการย้ายสถานที่ราชการ อาทิ ศาลากลางจังหวัด ศาล ที่ทำการอำเภอ สถานีตำรวจ คุก ออกจากบริเวณคุ้มวัดโพธิ์ศรี มายังบริเวณทางตะวันตกของเมืองระหว่างถนนนครสวรรค์ ตัดกับถนนผดุงวิถีฝั่งตะวันตกถนนวรบุตรที่ตัดกับถนนนครสวรรค์ได้จัดสร้างสุขศาลา(โรงแพทย์) และบ้านพักของอำเมือง ถัดออกไปจนถึงถนนนครสวรรค์ตัดกับถนนผดุงวิถี ทางฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งของศาลากลาง ศาล และฝั่งตรงข้ามเป็นที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมือง และเรือนจำ ไกลออกไปยังคงเป็นป่าเช่นเดิม จากถนนนครสวรรค์ ลงมาทางใต้ยังเป็นป่า สวน และทุ่งนา ในช่วงนี้ได้มีการสร้างวัดแห่งใหม่เรียกกันว่า”วัดทุ่ง” หรือวัดนาควิชัย ในปัจจุบัน ซึ่งรอบๆ วัดเป็นที่สวน นา และป่า ยังแทบไม่มีชุมชน ผู้คนที่จะมายังวัดทุ่ง หรือ วัดนาควิชัยมักเป็นพวกพ่อค้า นายฮ้อยและ พวกเดินทางไกล ที่จะมาทำพิธีขอพรจากพระประธานประจำวัดคือ หลวงพ่อไทรงามหรือหลวงพ่อแดงซึ่งมีชื่อเสียงในการ ป้องกันภัยและเกี่ยวกับการเดินทาง[25]
ประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา เมืองมหาสารคามได้ขยายตัวอย่างช้าๆ ลงไปทางทิศใต้ ถนนนครสวรรค์ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเมืองได้เปลี่ยนจากถนนดินทราย เป็นถนนลูกรัง บริเวณมุมถนนนครสวรรค์ตัดกับถนนวรบุตร ฝั่งตรงข้ามธนาคารกรุงเทพปัจจุบันได้มีการก่อนสร้างตึกสองชั้นเป็นอิฐถือปูน ชาวเมืองสมัยนั้นเรียกชื่อว่า “ตึกขาว” นับเป็นตึกก่ออิฐถือปูนตึกแรกของเมืองมหาสารคามผู้ก่อสร้างตึกเป็นช่างญวนนามว่า องกวด เจ้าของตึกเป็นหัวหน้าผู้พิพากษา แต่ต่อมาขายให้กับ นายพูน ภวภูตานนท์ ณ สารคาม ซึ่งเป็นปลัดอำเภอ (และปรากฏเป็นตลาดระยะเวลาสั้นๆโดยเรียกว่าตลาดยายเทศ)[26] ความเจริญของเมืองมหาสารคามเริ่มปรากฏการขยายตัวไปทางทิศใต้เมื่อ หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพคำ) ผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคาม ได้ขุดคลองสมถวิลในปี พ.ศ. 2477 ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้เมืองมหาสารคามมีน้ำล้อมรอบ เพื่อไว้ใช้ดับอัคคีภัย[27] คลองสมถวิลขุดเชื่อมแหล่งน้ำสองแห่งคือ จากกุดนางใย ตรงไปจนจด ห้วยคะคาง นับเป็นการเปิดพื้นที่การขยายตัวของเมืองในเวลาต่อมา แต่ในระยะนั้นบริเวณด้านใต้ของคลองยังเป็นทุ่งนาและป่าเช่นเดิม[28]
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ในปี พ.ศ. 2488 หรือประมาณกว่า 70 ปีที่ผ่านมาเมืองมหาสารคามได้ขยายตัวเพียงเล็กน้อย การขยายตัวนับตั้งแต่นี้ไปอาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นจากการขยายตัวของหน่วยงานราชการ ถนนสายนครสรรค์เปลี่ยนจากถนนลูกรังเป็นถนนลาดยาง ตลาดสดได้ย้ายจากบริเวณโรงภาพยนตร์ 4711 (ปัจจุบันได้เลิกกิจการไปแล้ว) มายังบริเวณฝั่งตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสงบลง ( ทศวรรษ2480) ธุรกิจในเมืองมหาสารคามมีเพียงธุรกิจที่ไม่ใหญ่โต ปรากฏมีร้านถ่ายรูปของชาวญี่ปุ่นและชาวไทย สำหรับร้านถ่ายรูปของชาวไทยมีชื่อว่า “ร้านไพโรจน์” อยู่บริเวณถนนนครสรรค์ดำเนินกิจการโดยนายประพิส ทองโรจน์ ในขณะเดียวกันปรากฏว่ามีโรงสีเล็ก 3 แห่ง คือ โรงสีของสิบเอกปรีชา วินโทนิน อยู่บริเวณสามแยกวัดกลาง(วัดอภิสิทธิ์ ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญราชเดช ตรงข้ามบ้านอาจารย์ชื่นชัย วรามิตร ในปัจจุบัน และได้เลิกกิจาการแล้ว)โรงสีแห่งที่สองอยู่ที่คุ้มบ้านส่อง(ซึ่งบริเวณดังกล่าวเริ่มมีผู้คนตั้งบ้านเรือนมากขึ้น แต่ยังไม่หนาแน่น) โรงสีแห่งนี้เป็นของบิดานายองอาจ พัฒนจักร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ถนนนครสรรค์และโรงสีแห่งที่สามเป็นของนาย ประสาท ศรีสารคาม[29] ต่อมาทางทิศเหนือของเมืองบริเวณบ้านโนนตูม ได้ปรากฏโรงสีข้าวใหญ่แห่งแรกในจังหวัดมหาสารคาม โดยจีนเบ้งเซ้ง (ต้นสกุล เหล่าสุวรรณ ) เป็นผู้ดำเนินการ และได้เลิกกิจการไปในเวลาต่อมา[30] ไกลจากตัวเมืองบริเวณศาลหลักเมืองยังคงเป็นป่า แต่บริเวณห้วยคะคางแถบบ้านโนนศรีสวัสดิ์ ได้ปรากฏมีโรงเรียนฝึกหัดครูเกิดขึ้น ซึ่งต่อมาเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม (สถาบันราชภัฏในปัจจุบัน) และมีส่วนให้เกิดชุมชนใหญ่รอบๆ กลายเป็นคุ้มโนนศรีสวัสดิ์ในเวลาต่อมา
ประมาณ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ชุมชนเริ่มขยายไปทางทิศใต้จนถึงบริเวณริมคลองสมถวิล บริเวณนี้ เดิมเป็นสวน มีบ้านน้อยหลังตั้งห่าง ๆ กัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 นายประพิส ทองโรจน์ ได้ซื้อโรงภาพยนตร์ ซึ่งดำเนินการอยู่แล้วโดยผู้อื่น และตั้งชื่อโรงภาพยนตร์นี้ใหม่ว่า โรงภาพยนตร์นครสวรรค์[31] หลังโรงภาพยนตร์แห่งนี้เป็นโรงลิเก และถัดไปเป็นบริเวณคุ้มวัดนาควิชัย (วัดทุ่ง) ซึ่งเป็นสวนแน่นด้วยต้นไม้ ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ มีเพียงวัดและตึกดินชั้นเดียวยกพื้นเล็กน้อยหลังเดียวซึ่งอยู่ใกล้วัด ตึกดินหลังนี้เป็นของพ่อใหญ่เขียวและแม่ใหญ่หมา ต่อมานางลักษมี เทศแดง ได้อพยพมาตั้งบ้านหลังแรกบริเวณคุ้มวัดนาควิชัย ซึ่งบริเวณโดยรอบเป็นสวนผลไม้ นางลักษมี เทศแดง ได้ซื้อบ้านตึกดินของพ่อใหญ่เขียวและแม่ใหญ่หมาถวายวัดนาควิชัย เจ้าอาวาสวัดขณะนั้นได้รื้อตึกดินนี้แล้วสร้างกุฏิขึ้นแทน นางลักษมีเล่าต่อไปว่าหลังจากที่ตนมาตั้งบ้านเรือนแล้วผู้คนได้เริ่มทยอยมาตั้งบ้านเรือนบริเวณวัดนาควิชัยมากขึ้น สาเหตุสำคัญคงเพราะบริเวณดังกล่าวอยู่ไม่ไกลจากตลาด และวัดนี้มีชื่อเสียง สำหรับผู้ที่จะเดินทางไกล จะต้องมาค้างคืนที่วัดก่อนการเดินทางเพื่อจะได้รับแต่ความโชคดี[32] ผู้คนจึงเริ่มตั้งบ้าเรือนบริเวณริมคลองสมถวิลทางด้านทิศเหนือมากขึ้น
1.1.5 การขยายตัวเมืองมหาสารคามจากบทบาทของสถาบันการศึกษา พ.ศ. 2510-2535
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาหรือประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา บริเวณเขตเมืองเดิมตามแนวถนนนครสวรรค์ปรากฏมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นมากขึ้น บริเวณทั้งสองฝั่งถนนวรบุตร บริเวณคุ้มวัดต่างๆ อาทิ คุ้มวัดอภิสิทธิ์ คุ้มวัดโพธิ์ศรี คุ้มวัดมหาชัย คุ้มวัดส่องนางใย คุ้มวัดนาควิชัย ชุมชนจึงเริ่มขยายตัวไปทางทิศตะวันตกจากเส้นทางที่เป็นศาลหลักเมืองจนถึงทางแยกไปจังหวัดกาฬสินธุ์ และถึงบริเวณห้วยคะคาง เส้นทางจากศาลหลักเมืองจนถึงบริเวณแยกไปจังหวัดกาฬสินธุ์ ปรากฏมีบ้านของกลุ่มข้าราชการซึ่งตั้งอยู่ห่างๆ สลับกับพื้นที่สวน ส่วนบริเวณเส้นทางจากแยกกาฬสินธุ์ไปยังห้วยคะคางเริ่มมีชุมชนเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณบ้านโนนศรีสวัสดิ์ อันเป็นผลเนื่องมาจากการตั้งวิทยาลัยครูมหาสารคาม และต่อมาได้จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม และเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปัจจุบัน ) ติดกับวิทยาลัยครูมหาสารคาม มีผลให้ชุมชนบ้านโนนศรีสวัสดิ์ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ มีเศรษฐกิจผูกพันกับนักศึกษาสถาบันการศึกษาสำคัญๆดังกล่าว
อาคารแรกๆ ใน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามในอดีต |
วิทยาลัยครูมหาสารคาม ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามในปัจจุบันเป็นสถาบันที่ทำให้เกิดการขยายตัวของผู้คนมายังคุ้มโนนศรีสวัสดิ์ในเบื้องต้น สถาบันแห่งนี้เริ่มตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยเป็นโรงเรียนประถมกสิกรรม(บริเวณวิทยาลัยเทคนิค มหาสารคามในปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2470 ย้ายไปตั้งที่ “โคกอีด่อย” ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน พ.ศ. 2498 เปลี่ยนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู และเริ่มมีนักศึกษามากขึ้นเมื่อเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคามในปี พ.ศ. 2505 และเป็นสถาบันราชภัฎมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2538 จำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นอีกเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามในปี พ.ศ. 2547 การเปลี่ยนฐานะตั้งแต่เป็นวิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นต้นมา ทำให้สถาบันรับนักศึกษามากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีผลให้บริเวณรอบๆ สถาบันเป็นหอพักของนักศึกษา และร้านอาหาร ผู้คนจากหลายแหล่งได้เข้ามาลงทุนในแบบต่าง ๆ จนทำให้บริเวณใกล้ๆ สถาบันและถนนที่เป็นเส้นทางเข้าเมืองมหาสารคามมีบ้านพัก อาคารพาณิชย์ เพิ่มมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามการขยายตัวของชุมชนบ้านโนนศรีสวัสดิ์อย่างมากอาจจะเนื่องมาจากการที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ได้รับการเลื่อนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2517 ในขณะที่วิทยาลัยครูมหาสารคามกำลังดำเนินการอยู่นั้น ได้มีโครงการผลิตครูปริญญาจากรัฐบาล โดยในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคามซึ่งเป็นวิทยาเขตของวิทยาลัยวิชาการศึกษา มีศูนย์กลางอยู่ที่ประสานมิตร กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2517 สถาบันแห่งนี้ได้เปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม รับนิสิตเพิ่มขึ้นจากจำนวนร้อย เป็นจำนวนนับพันคน และมีผู้มาศึกษาเพิ่มเติมในรอบพิเศษ คือรอบเย็น ตั้งแต่บ่ายห้าโมงจนถึงสามทุ่ม ระหว่างวันจันทร์ พุธ และศุกร์ อีกเป็นจำนวนหลายพันคน กล่าวคือ ถ้าครูในภาคอีสานที่ต้องการปริญญา ต่างได้มุ่งมาศึกษาต่อที่สถาบันแห่งนี้ การเพิ่มจำนวนผู้เรียนรวมกับนักศึกษาจากวิทยาลัยครูมีผลให้บ้านโนนศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันทั้งสองแห่ง กลายเป็นบริเวณที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากขึ้น มีการลงทุนทางเศรษฐกิจรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น นับเป็นการขยายตัวของเมืองมหาสารคามมายังทิศตะวันตกของเมือง ซึ่งเคยเป็นที่สงบเงียบ แทบไม่มีผู้คนอาศัย และเรื่องเล่ามักเป็นเรื่อง “ผี” ยิ่งไปกว่านั้นเล่ากันว่าเมื่อตอนตั้งเมืองบริเวณแห่งนี้เป็นที่ใช้ประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย
สำหรับเส้นทางไปยังโรงพยาบาล ได้เริ่มมีพ่อค้าไปตั้งร้านค้า อาทิตระกูลอีฮงและนักธุรกิจก่อสร้าง เช่น นายชิ้น จิวประสาท ได้ตั้งร้านบริเวณตรงข้าม โรงพยาบาลมหาสารคาม[33] การขยายตัวของเมืองมหาสารคาม ในช่วงระยะเวลานับจาก 20 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันมีผลให้เมืองมหาสารคาม มีแหล่งชุมชน ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ชิดกันเรียกว่า “คุ้ม” 13 คุ้ม คือ คุ้มวัดอภิสิทธิ์ คุ้มวัดโพธิ์ศรี คุ้มบ้านส่อง คุ้มบ้านโนนศรีสวัสดิ์ คุ้มหนองข่า คุ้มวัดปัจฉิมทัศน์ คุ้มวัดธัญญาวาส คุ้มวัดมหาชัย คุ้มบ้านแมด คุ้มบ้านค้อ คุ้มวัดสามัคคี คุ้มวัดนาควิชัย และคุ้มวัดอุทัยทิศ
1.1.6 การขยายตัวเมืองมหาสารคามโดยบทบาทของธุรกิจแบบใหม่ พ.ศ. 2535-ทศวรรษ 2550
ความเปลี่ยนแปลงในการขยายตัวของเมืองมหาสาคามปรากฏชัดเจนในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา คือหลัง พ.ศ. 2530 การขยายตัวของเมืองมหาสารคามได้เริ่มขยายออกไปในทิศทางต่าง ๆ คือ ในตัวเมืองแถบริมคลองสมถวิล ตั้งแต่มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ไปจนจรดหน้าโรงพยาบาล และกระจายไปจนถึงถนนเลียบเมืองเส้นไปอำเภอบรบือ ทางทิศตะวันออก ได้ขยายไปจนถึงถนนเลี่ยงเมืองทางไปร้อยเอ็ด และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เส้นไปจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เกิดการสร้างศูนย์ราชการใหม่เกิดชุมชนหนาแน่นมากขึ้น เส้นทิศตะวันตกไปจังหวัดขอนแก่นเกิดห้างสรรพสินค้าใหญ่และหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากจนถึงเส้นเลี่ยงเมือง และเส้นที่ขยายตัวมากคือเส้นทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดห้างขายสินค้าขนาดใหญ่ และอาคารมากมายจนถึงแถบที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่การขยายตัวของเมืองดังกล่าวได้หยุดชะงักในช่วงปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของไทยประสบปัญหา แต่หลังจากทศวรรษ 2550 เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว การขยายตัวจึงเริ่มเกิดขึ้นอีกแต่เป็นไปอย่างช้า ๆ ด้วยเหตุต่าง ๆ
1.1.6.1 การขยายตัวเมืองมหาสารคาม กรณีศึกษาคลองสมถวิล ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2535 – 2559
1) การขยายตัวของชุมชนบริเวณคลองสมถวิล ยุคแรกเริ่ม พ.ศ.2477 – 2535
คลองสมถวิล |
คลองสมถวิล ตั้งอยู่ที่ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม คลองสมถวิลถูกขุดขึ้นทางด้านทิศใต้ของเมืองในปี พ.ศ. 2477 โดยหลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.สมถวิล เทพาคำ) ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามในขณะนั้น ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้เมืองมหาสารคามมีน้ำล้อมรอบเพื่อใช้สำหรับดับอัคคีภัย การขุดคลองสมถวิลได้เชื่อมกับแหล่งน้ำสองแห่งคือ จากกุดนางใย ตรงไปจนจด ห้วยคะคาง นับว่าเป็นการเปิดพื้นที่การขยายตัวเมืองในเวลาต่อมา ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นทุ่งนาของชาวบ้านประมาณ 40 ราย จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเรียกว่า “คณะกรรมการขอที่ดินขุดคลอง” ประกอบด้วยข้าราการบำนาญ ทนายความ ผู้แทนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายบุญช่วย อัตถากร ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขุดคลองครั้งนี้ด้วย
จากนั้นให้ราษฎรลงมือขุดต่อไป แรงงานในการขุดได้มาจากราษฎรที่ค้างเงินค่ารัชชูปการทั้งสิ้น โดยชายฉกรรจ์คนใดที่ยังไม่เสียส่วย ต้องมาขุดคลอง คิดค่าแรงวันละ 50 สตางค์ ดังนั้นคนที่ค้างค่ารัชชูปการ 4 บาทต่อปี ต้องมาขุดคลอง คนละ 8 วัน การขุดเริ่มจากจุดเริ่มต้นออกเป็นสองทาง ทางหนึ่งขุดมาจากกุดนางใย อีกทางหนึ่งขุดไปทางหนองบักเกิ้ง บ้านโนนศรีสวัสดิ์ เพื่อรับน้ำจากแก่งเลิงจาน มีระยะทาง 3,850 เมตร แล้วตั้งชื่อคลองนี้ตามชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นผู้นำในการดำเนินการ ว่า “คลองสมถวิล”[34]
เมืองมหาสารคามได้ขยายลงมาทางทิศใต้ โดยมีหน่วยงานภาครัฐย้ายหน่วยงานต่างๆ ทะยอยมาตั้งอยู่บริเวณริมคลองสมถวิล อาทิ โรงพยาบาลมหาสารคาม เมื่อปีพ.ศ. 2510[35] สถานีขนส่ง (บขส) ซึ่งได้ย้ายจากหน้าสถานีตำรวจ เมื่อ 31 มีนาคม 2514 และการก่อสร้างอาคารสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในปีพ.ศ.2536 เป็นต้น[36] ส่วนบ้านเรือนในยุคนี้มีเพียงไม่กี่หลังที่มาสร้างอยู่บริเวณริมคลองสมถวิลเพราะในขณะนั้นบริเวณพื้นที่ยังเป็นถนนลูกรัง ป่าแก ทุ่งนา หนองน้ำ ป่าไผ่ ที่กล่าวข้างต้นว่าบ้านเรือนมีเพียงไม่กี่หลังนั้นเป็นเพราะพื้นที่บริเวณริมคลองจากเริ่มจากโรงพยาบาลลงมาทางมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพื้นที่ต่ำและน้ำท่วมจริงไม่ค่อยมีคนนิยมมาสร้างบ้านเรือน[37] เช่นเดียวกับคำบอกเล่าของนายโอสา ตีกา ที่เล่าว่าเมื่อปี พ.ศ.2530 ตนได้สร้างบ้านบริเวณซอยไก่พันธุ์ดี ซึ่งสาเหตุที่มาเลือกซื้อที่ดินและปลูกบ้านบริเวณริมคลองนั้นเป็นเพราะเมื่อประมาณปี พ.ศ.2524-2524 บริเวณพื้นที่ริมคลองสมถวิลได้ถูกจัดสรรที่ดินและขายในราคา 40,000 บาท ต่อ 1 งาน เหตุผลอีกประการคือ บริเวณดังกล่าวถือว่าอยู่นอกเมืองบรรยากาศเงียบสงบ อีกทั้งบริเวณริมคลองสมถวิลยังเป็นแหล่งทรัพยากรทางอาหารไม่ว่าจะเป็น ปลา ข้าว ของชาวบ้านที่อยู่ในเมือง[38]
2) การขยายตัวของชุมชนบริเวณคลองสมถวิล ยุคที่สอง พ.ศ. 2535-2559
ช่วงนี้เริ่มมีการขยายตัวของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของผู้คนมากขึ้น เมื่อมีบ้านเรือนมากขึ้นพื้นที่ทุ่งนาของชาวบ้านเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การถือครองเพราะเจ้าของที่ดินคิดว่าพื้นที่ของตนเองเป็นป่า ทุ่งนา และน้ำท่วมอีกทั้งอยู่นอกเมืองจึงตัดสินใจขายที่ดินของตนเองให้แก่นายทุน[39] พื้นที่ถูกปรับเปลี่ยนด้วยการถมดินเพื่อพัฒนาในการสร้างอาคารต่างๆ ในปีพ.ศ.2537 พบว่ามีอาคาร ตึก เทาวน์เฮาส์ มากกว่า 100 ห้อง ถนนยังเป็นถนนลูกรังสลับการถนนลาดยางเป็นระยะๆจนกระทั้งประมาณปี พ.ศ.2540 ได้ทำเป็นถนนคอนกรีต[40] เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการขยายตัวจากสถานที่ราชาการและสถาบันอุดมศึกษาที่มีมากถึง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันการพลศึกษา มหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวนนักศึกษาที่มีมากทำให้เกิดการลงทุนทำธุรกิจหอพัก ร้านอาหาร และร้านขายวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการศึกษา การลงทุนในธุรกิจหอพักได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นหอพัก 1 ชั้น 2 ชั้น และมากกว่าสองชั้นเป็นที่นิยมสร้างกันใกล้ ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แต่ธุรกิจหอพักต้องหยุดซะงักไประยะหนึ่งเพราะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ“ฟองสบู่”ในปีพ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเจ้าของกิจการหอพักที่กู้ยืมเงินมาสร้างหอพักเป็นอย่างมากเพราะบางรายต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสูงถึงร้อยละ 19[41] อย่างไรก็ตามหลังจากประมาณ ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา วิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยเริ่มคลายตัวลงและเมื่อผ่านพ้นวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ “ฟองสบู่” ธุรกิจใหม่ที่ป็นที่นิยมของนักลุงทุนคือ การสร้างตึกพาณิชย์ขายหรือให้เช่า เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและได้ผลกำไรดี โดยนักลงทุนเป็นคนในพื้นที่และคนจากที่อื่น[42]
นอกจากการลงทุนทำธุรกิจหอพักและสร้างอาคารพาณิชย์ขายแล้วยังมีการลงทุนทำธุรกิจร้านดื่มสุราหรือร้านดื่มเหล้าในยุคแรกๆที่มาตั้งอยู่บริเวณริมคลองสมถวิลเช่น ร้านอาหารบ้านนา ที่มีนายบุญ แก้วบุตรดา เป็นเจ้าของร้านและร้านกกทัน[43] หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ.2549 เป็นต้นมากระแสเปิดร้านเหล้าบริเวณริมคลองสมถวิลเป็นที่นิยมจำนวนมาก ถึงแม้ผู้ประกอบการบางรายประสบปัญหาขาดทุนจนปิดกิจการแต่สถานที่ซึ่งเป็นอาคารเดิม ได้มีผู้สนใจเข้ามาทำกิจการร้านเหล้าต่อจากเจ้าของเดิมหรือการเช่าที่ดินเพื่อสร้างร้านเป็นของตนเอง ปัจจุบันร้านเหล้าริมคลองสมถวิลมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม มากกว่า 10 ร้านเพราะกระแสความนิยมของนักศึกษาทำเกิดการแข่งขันในธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้น บริเวณริมคลองสมถวิลกลายเป็นแหล่งธุรกิจ และส่งผลให้จากบรรยากาศที่เคยเงียบสงบ อุดมไปด้วย ทุ่งนา ปลา ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นถนนที่ไม่เคยหลับใหล มีผู้คนคึกคักในยามค่ำคืน และส่งผลที่สำคัญตามมาคือ ปัญหาน้ำเน่าเสียที่ไม่ได้ผ่านการบำบัด[44] ฉะนั้นทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชนควรที่จะบูรณาการเพื่อ แก้ไข ฟื้นฟูให้น้ำในคลองกับมีคุณภาพดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
1.1.6.2 การขยายตัวศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคามสู่ความเจริญบ้านหนองแวง แวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2535-2559
การขยายตัวของเมืองมหาสารคามโดยส่วนราชการมีผลต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชนบริเวณโดยรอบ สถานที่ราชการไม่ว่าจะเป็นศูนย์ราชการ มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากมาอาศัยหรือมาติดต่อราชการ รวมไปถึงบุคลากรที่มาปฏิบัติราชการในส่วนราชการซึ่งมีจำนวนมาก ทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่โดยรอบเช่น มีการตั้งร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ โครงการบ้านจัดสรร โรงแรมที่พัก การขยายตัวของตลาดชุมชน การขายตัวด้านการคมนาคม เป็นต้น เพื่อรองรับผู้คนจำนวนมากที่มาอาศัยอยู่และที่เดินทางมาติดต่อราชการ การศึกษาการขยายตัวของศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคามในช่วง พ.ศ.2535-2559 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ หนึ่งศึกษาการเกิดขึ้นของหน่วยงานราชการรอบๆพื้นที่ศูนย์ราชการ สองศึกษาความเปลี่ยนแปลงของบ้านหนองแวง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามหลังจากที่มีศูนย์ราชการเกิดขึ้น
การขยายตัวของศูนย์ราชการนับแต่หลังการปฏิรูปการปกครองโดยเริ่มจากหม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ มาดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลประจำจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม การขยายตัวของชุมชนได้ขยายตัวจากคุ้มวัดโพธิ์ศรีมาทางทิศตะวันตก และสร้าง “ศาลากลางจังหวัด” อย่างเป็นทางการขึ้นนับเป็นศาลากลางจังหวัดอย่างเป็นทางการหลังแรก สร้างขึ้นบริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้สองชั้นสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2457 จากการย้ายมาสร้างศาลากลางจังหวัดก็ทำให้ชุมชนมีการขยายตัวตามมา ต่อมาปี พ.ศ.2461 สมัยพระยาสารคามคณาภิบาล(พร้อม ณ นคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าศาลากลางมีความคับแคบไม่พอแก่การปฏิบัติงานจึงสั่งเกณฑ์เสาไม้จากราษฎรได้ 200 ต้น แต่ยังไม่ได้ลงมือสร้างท่านต้องย้ายไปรับราชการที่อื่น ต่อมา พ.ศ.2562 พระยาสารคาคณาภิบาล(ทิพย์ โรจนประดิษฐ์)มาเป็นผู้ว่าราชการได้เกณฑ์ ราษฎรหาไม้มาเพิ่มเติมและลงมื้อปลูกสร้างบริเวณตรงข้ามจวนผู้ว่าราชการจังหวัด (หน้าศาลากลางหลังเก่าหลังมณฑปพระกันทรวิชัย)แต่ยังไม่แล้วเสร็จก็ย้ายไปรับราชการที่อื่น ศาลากลางหลังนี้สร้างแล้วเสร็จในสมัยพระประชากรบริรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในต้นปี พ.ศ.2467 ใช้งบประมาณ 6,000 บาทและใช้ศาลากลางปฏิบัติงานมาจนถึง พ.ศ. 2495[45] ต่อมาในสมัยนายเชื่อม สิริสนธิ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีการสร้างศาลากลางหลังที่ 3 ขึ้นเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน 1,800,000 บาท สร้างห่างจากศาลากลางหลังเก่าไปทางทิศตะวันตก 100 เมตรและยกอาคารหลังเก่าเป็นที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม ศาลากลางหลังที่ 3 ใช้มาจนถึงต้นปี พ.ศ.2542 เมื่อได้อาคารศาลากลางหลังใหม่จึงยกให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดัดแปลงเป็นอุทยานการเรียนรู้มหาสารคาม การย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ศูนย์ราชการทำให้เกิดการกระจายตัวของราษฎรและมีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้นเห็นได้จากร้านค้าชาวจีน ตึกดินเป็นต้น[46]
การก่อตั้งขึ้นของศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคามหรือเรียกกันติดปากว่า “ศาลากลางหลังใหม่”[47]นับเป็นการขยายตัวของเมืองมหาสารคามทางด้านทิศใต้ให้คึกคักมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ศูนย์ราชการแห่งใหม่เป็นที่ดินของกองทัพอากาศที่มอบให้ปศุสัตว์ใช้ในการดำเนินงานของสถานีบำรุงสัตว์ จำนวน 2448 ไร่ ใช้เป็นพื้นที่ศูนย์ราชการจำนวน 167 ไร่ 1 งาน ศูนย์ราชการแห่งใหม่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนเลี่ยงเมืองหมายเลข 23 ติดกับถนนมหาสารคาม-วาปีปทุมในเขตตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 กำหนดการแล้วเสร็จวันที่ 21 ธันวาคม 2542 และทำพิธีเปิดโดยสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2542[48] จากการก่อตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่โดยมีการย้ายหน่วยงานภายใต้สังกัดมายังที่ทำการใหม่ทั้งหมด โดยยกอาคารทำการหลังเก่าให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในการใช้ประโยชน์ หลังจากศูนย์ราชการแห่งใหม่ได้เปิดทำการบางหน่วยงานที่ยังไม่มีที่ตั้งของสำนักงานได้อาศัยศาลากลางหลังใหม่เป็นที่ทำการเช่น สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม(สกสค) ซึ่งต่อมาไม่นานก็มีการเริ่มสร้างที่ทำการของหน่วยงานราชการเกิดขึ้น โดยเริ่มจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 (สพม26)ในปี พ.ศ.2553 องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน่างสร้างขึ้น พ.ศ.2554[49] สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขมหาสารคามสร้างขึ้น พ.ศ. 2555 สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม(สกสค) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 และท้ายสุดคือสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2558
จากการสร้างขึ้นใหม่ของสถานที่ราชการส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางมาติดต่อราชการ การคมนาคมสะดวกสบายมากขึ้น เป็นต้น แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่าการมากระจุกตัวของสถานที่ราชการต่างๆดังนี้ ประการแรกตำบลแวงน่างเป็นสถานที่ที่มีหน่วยงานราชการเดิมอยู่หลายแห่งเช่น สำนักงานขนส่ง สำนักงานผังเมือง สำนักงานสาธารณสุข สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคามเป็นต้นจึงเป็นสาเหคุให้การเลือกที่ตั้งศูนย์ราชการแห่งใหม่มาใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการเดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อความสะดวกในการติดต่อราการ ประการต่อมาเนื่องจากสถานที่ตั้งหน่วยงานราชการไม่ว่าจะเป็นศูนย์ราชการ หน่วยงานราชการใกล้เคียง ล้วนเป็นที่ดินราชพัสดุเดิมอยู่แล้วในการก่อสร้างไม่ต้องทำการซื้อที่ดินจากประชาชน ซึ่งเดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศจึงเป็นพื้นที่ของส่วนราชการที่สามารถทำการขอที่ดินเพื่อก่อสร้างหน่วยงานราชการได้ง่ายขึ้น ประการที่สาม เป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะสร้างความเจริญและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในลักษณะเบ็ดเสร็จ(ONE STOP SERVICE)ต้องการที่จะให้ศูนย์ราชการเป็นสถานที่ติดต่อราชการครบวงจร เนื่องจากการติดต่อราชการบางส่วนเกี่ยวของกับหน่วยงานใต้สังกัดซึ่งอาจจะอยู่ไกลกันการเดินทางกลับไปกลับมาไม่สะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการจึงให้สถานที่ราชการมาตั้งรวมตัวอยู่ใกล้เคียงกันเพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการ ศูนย์ราชการแห่งใหม่นี้นับว่าเป็นความสะดวกสบายต่อการเดินทางมาติดต่อราชเนื่องจากตั้งอยู่ติดถนนเส้นรอบเมืองทำให้การจราจรไม่ติดขัดมาก ประกอบกับเป็นการนำความเจริญมาสู่ชุมชนรอบนอกด้วย
นอกจากศูนย์ราชการจะทำให้เกิดการขยายตัวของหน่วยงานราชการรอบข้างแล้วนั้นยังส่งผลให้ชุมชนแวงน่างเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงในที่นี้จะกล่าวถึงบริเวณรอบศูนย์ราชการซึ่งเป็นชุมชนบ้านหนองแวง ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หลังจากที่ศูนย์ราชการสร้างแล้วเสร็จนั้นบ้านหนองแวงได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเห็นได้จากเริ่มมีร้านค้าขายเกิดขึ้นเช่นร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มตำ ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าเอกชน รวมถึงตลาดแวงน่างที่มีผู้คนมาจับจ่ายมากขึ้น เป็นต้น การเกิดขึ้นของร้านอาหาร ตลาดที่ขยายขายของเพิ่มขึ้นเป็นตัวบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่รอบบริเวณชุมชนและผู้สัญจรผ่านชุมชนมากขึ้น ตลาดแวงน่างเกิดขึ้นหลังจากศูนย์ราชการเปิดใช้งานเริ่มแรกไม่มีคนมาขายของมากเท่าไหร่นักมีเพียงชาวบ้านเก็บผักที่ปลูกไว้มาขายในช่วงเย็นซึ่งไม่คึกคักมากนักต่างจากตอนนี้ที่ตลาดคึกคักมากขึ้นแม่ค้ามาค้าขายเพิ่มขึ้นจนล้นตลาดออกมาขายบริเวณถนนข้างตลาดทั้งสองข้าง ผลผลิตที่นำมาขายก็ไม่ใช่ผักที่ปลูกเองแล้วถ้ามีก็คงส่วนน้อยแล้วจะเป็นผักที่นำมาส่งเสียมากกว่า[50] การที่ตลาดมีผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นเนื่องจากอยู่ใกล้สถานที่ราชการส่วนมากแล้วคนที่มาจับจ่ายเป็นข้าราชการ พนักงานของหน่วยงานราชการที่ทำงานอยู่ศูนย์ราชการนั่นเอง รวมไปถึงผู้คนชนที่เดินทางมาติดต่อราชการผ่านมาและแวะจับจ่ายซื้อของ จากนั้นเรื่อยมาก็มีตึกแถว อาคารพาณิชย์ ร้านค้าปลีก-ส่ง เพิ่มขึ้นเป็นลำดับสื่อให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของชุมชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การกระจุกตัวของศูนย์ราชการ หน่วยงานราชการ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเจริญและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในลักษณะเบ็ดเสร็จ(ONE STOP SERVICE) มีผลทำให้เศรษฐกิจของชุมชนบ้านหนองแวงดีขึ้นตามลำดับ รวมถึงเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้ทั้งประชาชน ข้าราชการ พนักงานทั้งของรัฐและเอกชนที่เดินทางมาทำงาน มาติดต่อราชการในสถานที่เดียวเบ็ดเสร็จนับแต่การเดินทางที่สะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อราชการที่สะดวกมากขึ้นรวมถึงการอุปโภคบริโภคที่มีอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดความตึงเครียดเมื่อมาติดต่อราชการ นับว่าเป็นผลพลอยได้จากการก่อสร้างศูนย์ราชการและนโยบายของรัฐในเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในลักษณะเบ็ดเสร็จนั่นเอง
1.1.6.3 การเปลี่ยนแปลงของเมืองมหาสารคามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2559: กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณชุมชนบ้านดินดำและการขยายตัวทางการค้าในพื้นที่
การขยายตัวของเมืองมหาสารคามที่เป็นผลมาจากการขยายตัวของสถาบันทางการศึกษาขั้นสูงในปี พ.ศ.2511- 2535 ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างของเทศบาลเมืองมหาสารคามอย่างมาก ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การเพิ่มขึ้นของนิสิตนักศึกษาของสถาบันการศึกษาในเมืองมหาสารคามซึ่งในช่วงนี้ผู้คนเริ่มตั้งบ้านเรือนบริเวณบ้านโนนศรีสวัสดิ์ซึ่งเป็นผลมาจากการตั้งวิทยาลัยครูต่อมาเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มศว มหาสารคาม) และยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชุมชนในบริเวณนี้มีความหนาแน่นขึ้นตามลำดับ ดังทีได้กล่าวมาข้างต้นการขยายตัวของเมืองมหาสารคามไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นเพราะสถาบันทางการศึกษาได้ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีการขยายวิทยาเขตเพื่อรองรับจำนวนนิสิตนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ซึ่งตั้งแต่พ.ศ.2535 มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนโยบายการขยายพื้นที่และเริ่มสร้างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยที่ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จากการขยายวิทยาเขตทำให้นิสิตเดินทางมาศึกษาในพื้นที่ของวิทยาเขตขามเรียงซึ่งทำให้เกิดร้านค้า หอพักต่างๆในบริเวณชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเช่น ชุมชนบ้านท่าขอนยาง ชุมชนบ้านขามเรียงอีกทั้งชุมชนที่อยู่ละแวกใกล้เคียงรวมไปถึงบริเวณชุมชนบ้านดินดำ
1) สภาพบริเวณชุมชนบ้านดินดำในปี พ.ศ. 2535 – 2551
ชุมชนบ้านดินดำ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองมหาสารคามบริเวณริมถนน ถีนานนท์ (ถนนมหาสารคาม-ยางตลาด) ชุมชนบ้านดินดำเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มาอย่างยาวนานและบริเวณพื้นที่ของชุมชนติดกับแม่น้ำชีจึงทำให้คนในชุมชนใช้ประโยชน์จากแม่น้ำชี เช่น การใช้น้ำในการเกษตร การประมง ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ ชุมชนใช้ทำการเกษตรในลักษณะต่าง ๆโดยเฉพาะบริเวณริมถนนถีนานนท์ เป็นที่นาของชุมชนท้องถิ่น โดยมีร้านค้าเพียง 3 ร้าน คือ ร้านสุภาพรที่รับซื้อมันสำปะหลังและปอซึ่งเป็นร้านค้าของคนจีน อีกหนึ่งร้านเป็นปั๊มน้ำมันเชลล์(ไม่ทราบเจ้าของ) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งห้าง บิ๊กซี ( Big C ) ในปัจจุบัน และร้านที่สามเป็นร้านลำชีคาราโอเกะซึ่งเป็นร้านอาหารและสถานเริงรมย์ที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาบริเวณริมถนนถีนานนท์ (ไม่ทราบเจ้าของ) โดยในช่วงพ.ศ.2535-2551นี้ร้านค้าในชุมชนยังเป็นเพียงร้านขายของเบ็ดเตล็ด (ร้านโชว์ห่วย) ขนาดเล็กของชาวบ้านและมีตลาดค้าของสดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตลาดน้อยบ้านดินดำที่ตั้งอยู่บริเวณก่อนข้ามสะพานแม่น้ำชีเพียงเท่านั้น[51] การที่ชุมชนบ้านดินดำอยู่ติดกับเส้นทางที่เชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิทยาเขตในเมือง (ม.เก่า)และมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิทยาเขตขามเรียง(ม.ใหม่) จึงทำให้ชุมชนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่การขยายตัวของมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปีพ.ศ.2535 ดังกล่าวยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนบ้านดินดำเท่าใดนัก เพราะมหาวิทยาลัยยังไม่ได้เปิดการเรียนการสอนหลายสาขาดังในปัจจุบันในวิทยาเขตขามเรียง (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนิสิตลงทะเบียนประมาณ 40,000 คน) จากปี พ.ศ. 2535-.2540 ได้เปิดการเรียนการสอนเต็มที่ ณ วิทยาเขตขามเรียง ทำให้นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามเริ่มเดินทางมาเรียนและผ่านบริเวณชุมชนบ้านดินดำมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน เช่น การใช้เส้นทางคมนาคมหนาแน่นขึ้น ตลาดค้าของสดหรือตลาดน้อยบ้านดินดำมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นนิสิตนักศึกษา การขยายตัวของชุมชนบ้านดินดำที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของสถาบันการศึกษาตั้งแต่ในปี พ.ศ.2535-2551 และการขยายตัวบริเวณชุมชนบ้านดินดำเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดซึ่งเริ่มในปี พ.ศ.2552 หลังจากที่ห้างบิ๊กซี (Big C) ก่อตั้งขึ้น
2) สภาพชุมชนบ้านดินดำในปี พ.ศ. 2552 – 2559
ห้างบิ๊กซีมหาสารคาม |
สภาพชุมชนบ้านดินดำในช่วง พ.ศ.2552 เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นครั้งใหญ่โดยการมีห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี (Big C) ตั้งในชุมชนบ้านดินดำบริเวณที่เป็นปั๊มน้ำมันเชลล์ โดยการก่อตั้งห้างสรรพสินค้าดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่บริษัทเล็งเห็นการขยายตัวของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เปิดวิทยาเขตในตำบลขามเรียงและการเพิ่มขึ้นของนิสิตนักศึกษาในแต่ละปี รวมถึงบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สามารถเดินทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์อีกด้วย การก่อตั้งห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เกิดขึ้นในช่วงที่นายชัชวาล บะวิชัย เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้ตั้งห้างบิ๊กซี โดยมีข้อตกลงกับทางห้างสรรพสินค้าว่า ให้ห้างสรรพสินค้าดังกล่าวบรรจุคนใน ตำบลเกิ้งเข้าทำงานในห้างทั้งหมด 100 อัตราซึ่งทางห้างบิ๊กซี ได้ยินยอมกับข้อตกลงดังกล่าว นอกจากการตกลงกันขององค์การบริหารส่วนตำบลกับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ยังเกิดข้อขัดแย้งของกลุ่มนายทุนในเมืองมหาสารคามรวมถึงการคัดค้านจากกลุ่มพ่อค้าขนาดย่อยในชุมชนแต่การค้ดค้านไม่ประสบความสำเร็จ
การก่อตั้งห้างสรรพสินค้าดังกล่าวนั้นเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี 2549 โดยการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ผลักดันให้พื้นที่บ้านดินดำเป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรมจึงทำให้ สามารถตั้งห้างสรรพสินค้าได้หลังจากการเปิดห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีในพื้นที่ชุมชนบ้านดินดำทำให้ที่ดินในบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากราคาไร่ละประมาณ 120,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไร่ละประมาณ13,000,000 บาท ทำให้ชาวบ้านดินดำขายที่ดินและมีรายได้จากการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก [52] หลังจากการเปิดห้างสรรพสินค้า Big C ในปีพ.ศ.2552 พื้นที่บริเวณตั้งแต่สี่แยกวังยาวไปจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำชีก็เริ่มมีร้านค้าและห้างสรรพสินและค้าตึกแถวต่างๆรวมถึงหอพักเพิ่มขึ้นตามลำดับทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอย่างหนาแน่นรวมทั้งเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมอีกด้วย โดยการที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมเพราะในปี พ.ศ.2548 มีการยกเลิกพระราชบัญญัติผังเมืองรวม และให้ได้ถ่ายโอนภารกิจการวางและปรับปรุงผังเมืองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งจึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมซึ่งตำบลอื่นยังคงใช้พระราชบัญญัติที่มีเนื้อหาตามเนื้อความเดิมคือพื้นที่ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำให้ตำบลเกิ้งมีความได้เปรียบในการเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม จากข้อได้เปรียบทางด้านกฎหมายรวมไปถึงการขยายตัวของมหาวิทยาลัยมหาสารคามทำให้ร้านค้า ตึกแถว และห้างสรรพสินค้าต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2552-2559 โดยมีห้างร้านใหญ่ๆและหอพักเกิดขึ้นตามลำดับดังนี้ ศูนย์หอพักตักศิลา และปั๊มน้ำมัน ปตท.บ้านดินดำ พ.ศ.2548 ห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี (Big C) พ.ศ.2552 ห้าง โอวเปงฮง พ.ศ.2554 โรงแรมสยามธาราพาเลชและห้างไทวัสดุ พ.ศ. 2555 ห้างสรรพสินค้าแม็คโค พ.ศ.2559 ร้าน เซเว่น อีเลฟเว่น พ.ศ.2559
นอกจากกลุ่มร้านค้า ห้างสรรพสินค้าและหอพักใหญ่ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วยังมีหอพักต่างๆ ร้านค้าขนาดกลางและเล็กเพิ่มขึ้นอีกมากตั้งแต่แยกวังยาวเรื่อยมาตามถนนถีนานนท์จนถึงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำชี โดยเฉพาะร้านขายเนื้อวัวลำชีลาบก้อย (ร้านลำชีลาบก้อยขายเนื้อวัวไม่ใช่ลำชีคาราโอเกะแต่ใช้ชื่อเหมือนกันเพราะบริเวณที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำชี) ซึ่งเป็นร้านขายเนื้อวัวที่มีชื่อเสียงจนทำให้ผู้คนที่เดินทางผ่านไปผ่านมาจอดซื้อไปทานที่บ้านหรือทานที่ร้านกันอย่างมาก การเพิ่มขึ้นของร้านลาบก้อยและขายเนื้อวัวดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลังจากการเปิดห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี และเพิ่มจำนวนร้านลาบก้อยในริมถนนถีนานนท์ประมาณ 7 ร้าน การขยายตัวของพื้นที่ตั้งแต่บริเวณแยกวังยาวเรื่อยมาจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำชียังคงมีการเพิ่มขึ้นของร้านค้า หอพัก และที่อยู่อาศัยอยู่เรื่อยๆและส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้ภาษีจากห้างร้านและมีรายได้สูงที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม จากการพัฒนาที่ก้าวกระโดดนี้ไม่เพียงสร้างความเจริญให้กับพื้นที่เท่านั้นแต่ก็ได้สร้างปัญหาต่างๆให้กับพื้นที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน อาทิ ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาการจราจร ปัญหาขยะ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นของร้านค้า หอพัก และรวมไปถึงปริมาณประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวด้วย[53]
อาจสรุปได้ว่าการขยายตัวของเมืองมหาสารคามพื้นที่ตั้งแต่บริเวณแยกวังยาวจนถึงชุมชนบ้านดินดำช่วง พ.ศ.2535-2559 เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ.2552เป็นต้นมา สาเหตุอาจเนื่องมาจากปัจจัย 2 ประการดังนี้ ประการแรก การขยายตัวของสถาบันการศึกษา กล่าวคือ เมื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามขยายวิทยาเขตออกมาทางพื้นที่ตำบลขามเรียงทำให้ผู้คนโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษามีการเคลื่อนย้ายพื้นที่การเรียนการสอนขึ้น ส่งผลให้เส้นทางตั้งแต่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเก่า(ม.เก่า) ตามถนน ถีนานนท์เรื่อยไปจนถึงวิทยาเขตขามเรียงมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับตั้งแต่การสร้างศูนย์หอพัก การสร้างร้านค้า ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้น และเมื่อเกิดห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ขึ้นร้านค้าต่างๆก็ทยอยเปิดกันอย่างหนาแน่นทั่วทั้งบริเวณตั้งแต่แยกวังยาวมาจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำชี ประการที่สอง อาจเนื่องมาจากการเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม กล่าวคือ ด้วยเหตุผลทางด้านกฎหมายผังเมืองที่สามารถตั้งห้างร้านต่างๆได้ทำให้พื้นที่ตั้งแต่บริเวณรอบๆแยกวังยาวจนถึงสะพานแม่น้ำชีสามารถก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และร้านค้าต่างๆได้ แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆจึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีร้านค้า ห้างสรรพสินค้ากระจุกตัวแน่นตามริมถนนถีนานนท์
จากปัจจัยทั้งสองข้อดังที่กล่าวมาส่งผลให้พื้นที่ตั้งแต่แยกวังยาวมาจนถึงสะพานข้ามแม่น้ำชีเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและพื้นที่ดังกล่าวมีราคาที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว อีกทั้งการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าวยังสามารถพัฒนาไปได้อีกโดยปัจจัยที่ได้เปรียบทั้งสองข้อของพื้นที่ดังกล่าวเป็นเหมือนแรงดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
1.1.7 บทสรุป
จากการศึกษาประวัติการขยายตัวเมืองมหาสารคาม อาจสรุปได้ว่า เมืองมหาสารคามมีการขยายตัวของความเจริญอย่างช้าๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้คงอาจเพราะเหตุต่างๆ ในหลายประการ ประการแรกเมืองมหาสารคามมิได้มีทรัพยากรที่มีค่า และมิใช่เมืองสำคัญสำหรับศูนย์การปกครองที่กรุงเทพฯ สินค้าที่ปรากฏในอดีตที่ค้าขายกันในท้องถิ่นคือข้าว ต่อมามีมันสำประหลัง พื้นที่ของเมืองระยะแรกเป็นป่าและมิได้ระบุว่าเป็นป่าที่มีไม้มีค่าแต่อย่างไร นอกจากนี้เมืองมหาสารคามยังเป็นเมืองขนาดเล็ก และ เคยอยู่ภายใต้การดูแลของเมืองร้อยเอ็ด ด้วยเหตุดังกล่าวการลงทุนจากภายนอกจึงไม่ปรากฏ ประการที่สอง ในการขยายตัวของเมืองมหาสารคามในอดีต เกิดจากการเพิ่มของประชากรและความเจริญเติบโตของสถานที่ทางราชการ และสถานที่ทางการศึกษา และเมื่อประชากรมิได้มีทุนในการใช้จ่ายหมุนเวียนมากพอ เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจึงเป็นเศรษฐกิจที่มิได้ทำให้เกิดการผลิตและการลงทุนอย่างอื่นๆ (linkage) เศรษฐกิจประเภทอุตสาหกรรมที่สำคัญก็ปรากฏเพียงโรงสีข้าวใหญ่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนทางเศรษฐกิจของประชาชนในเมืองยังปรากฏน้อยมาก ส่วนใหญ่ผู้ลงทุนมักลงทุนทางธุรกิจที่เกี่ยวกับส่วนราชการและส่วนการศึกษา ประการที่สามอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของชุมชนเมืองอาจมีส่วนต่อการขยายตัวของเมืองในอดีต จากประวัติการขยายตัวของเมืองดังได้กล่าวมาอาจสรุปว่าการขยายตัวของเมืองมหาสารคามเป็นไปอย่างช้า ๆ อาจเนื่องจากการลงทุนในเมืองมหาสารคามมีน้อยมาก เพราะผู้มีทุนมักนำเงินฝากธนาคารมากกว่านำเงินไปลงทุน แต่หลังจากทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา บุตรหลานของผู้มีทุนเมืองมหาสารคามซึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่ ทั้งจากสถาบันในเมืองมหาสารคามเอง และมีจำนวนไม่น้อยที่ไปศึกษาจากกรุงเทพฯ รวมทั้งได้ไปศึกษาจากต่างประเทศ เมื่อกลับมาภูมิลำเนาของตน ต่างได้เอาความรู้แบบใหม่มาพร้อมกับการลงทุนซึ่งต่างไปจากที่บรรพบุรุษได้เคยทำ จึงเกิดการลงทุนมากขึ้น เมืองเริ่มมีการขยายตัวทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และขยายตัวทางกายภาพมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงระยะหนึ่งเพราะประสพกับวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในช่วงทศวรรษ 2540 จากสาเหตุต่างๆดังกล่าวจึงทำให้เมืองมหาสารคามมีการขยายตัวอย่างช้าๆ และ มีสภาพ “กึ่งเมืองกึ่งชนบท” ซึ่งอาจเหมาะสำหรับการ
บ้านหลวงนาถอาญัติ อำเภอเมือง มหาสารคาม: ได้ถูกรื้อทิ้ง กลายเป็นอาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน |
อยู่อาศัยที่เป็นที่ต้องการของผู้หลีกหนีความวุ่นวายของเมือง
1.2 ประวัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ดินแดนอีสานได้ปรากฏมีความสัมพันธ์กับรัฐศูนย์กลางของคนไทยที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ โดยภายหลังที่เมืองสุวรรณภูมิแยกจากการขึ้นตรงต่อจำปาศักดิ์มาขึ้นกับอยุธยา ซึ่งหัวเมืองต่างๆในอีสานต่างขึ้นกับสุวรรณภูมิต่อหนึ่ง ภายหลังได้เปลี่ยนมาขึ้นกับโคราช และต่อมาจึงได้ให้ทุกหัวเมืองของอีสานขึ้นกับกรุงเทพฯ หลังจากเกิดกรณีเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2369-2371) แต่ความสัมพันธ์ของหัวเมืองอีสานกับศูนย์กลางของรัฐไทย อยู่ในลักษณะเมืองขึ้นที่เพียงส่งส่วยบรรณาการและป้องกันภัยจากญวนเท่านั้น
กระทั่งความสำคัญของดินแดนและหัวเมืองอีสานได้ปรากฏความสำคัญชัดเจนในช่วงที่กระแสการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองต่อหัวเมืองแถบนี้ใหม่ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้คนในรัฐสยามสามารถอ่าน เขียน พูดและเรียนมาตรฐานความรู้อย่างเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็น ‘รัฐชาติ ’ (Nation State) ขึ้นมา ครั้นยุคจากการล่าอาณานิคมทางดินแดนสิ้นสุดลง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองโลกได้แบ่งขั้วการเมืองออกไปอีก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอันเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แผนพัฒนาประเทศทั้งทางการและไม่ทางการได้ทยอยออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลตระหนักถึงและเข้าใจว่าการพัฒนาประเทศนั้น เครื่องมือที่สำคัญคือคน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ดังนั้นปัจจัยที่นำมาพัฒนาคนที่สำคัญคือให้การศึกษา จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและระเบียบ ลงวันที่ 28 เมษายน 2492 และจัดให้มีการประชุมกัน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2492 เพื่อกำหนดนัดหมายทำความเข้าใจ เรื่องคำสั่งเปิดโรงเรียน และมีการพิจารณาตั้งชื่อชั่วคราวว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร” และกำหนดวันที่ 28 เมษายน 2492 เป็นวันก่อตั้งโรงเรียน ถือว่าเป็นการลงทุนที่เร่งด่วนของรัฐบาล ต่อมารัฐบาลในยุคต่างๆ ได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง หนักเบาตามสถานการณ์และความสนใจของผู้นำในช่วงต่างๆ
1.2.1 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร
แรกเริ่มก่อนที่จะมีการก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงนั้น วงการศึกษาของไทยประสบปัญหาในความล้าหลังของการศึกษา ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีมาตรฐานการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้นั้นยังมีข้อจำกัดหลายประการ และยังประสบปัญหาอื่นอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะพื้นที่ตั้งโรงเรียน ซึ่งต้องประสบกับการย้ายที่ตั้งอยู่เสมอ เช่น ในพ.ศ. 2484 เมื่อรัฐบาลได้สถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม ใช้พื้นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งเดิม จึงจำเป็นต้องย้ายสถานที่ตั้งมาที่ใหม่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งมีความกังวลต่อสภาพการณ์ ได้พยายามแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อก่อตั้งกิจการวิชาครู จนสามารถมาได้พื้นที่บริเวณถนนประสานมิตร ริมคลองแสนแสบ ซึ่งเดิมพื้นที่ดังกล่าวก่อนนั้นเคยใช้เป็นฟาร์มเลี้ยงโค เพราะในระหว่างสงครามไม่มีนมเนยเข้ามาจากต่างประเทศ ท่านจึงได้ทำหนังสือราชการขอซื้อที่จากกระทรวงเกษตรทันที ในราคาวาละ 38 บาท รวมทั้งขอซื้อจากเจ้าของรายอื่นใกล้เคียงเพิ่มเติม
1.2.2 วิทยาลัยวิชาการศึกษา
ต่อมาวงการศึกษาได้ประสบปัญหาเข้ามาอีกทั้งภาวการณ์ขาดแคลนครูเป็นอันมากและวุฒิครูสูงที่สุดคือวุฒิ ป.ม.(ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุปริญญาเท่านั้น ทำให้เกิดความล้าหลังในอาชีพครูอีกทั้งครู ป.ม. บางคนเมื่อศึกษาเพิ่มเติมสูงขึ้นได้ปริญญาทางด้านอื่นแล้วต่างลาออกไปประกอบอาชีพใหม่ที่เข้าใจว่ามีความก้าวหน้ามากกว่า ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาจึงได้มีการปรึกษาหารือและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตามลำดับ
ดร. สาโรช บัวศรี เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เข้าชี้แจงให้คณะรัฐบาลเข้าใจถึงเหตุและผลที่จะดำเนินการและสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากให้สามารถเปิดสอนครูถึงระดับปริญญา และสามารถชี้แจงจนเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมจึงได้มีมติยอมรับ และผ่านพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาออกมา แต่กว่าที่จะได้มีการยอมรับนั้นค่อนข้างพบอุปสรรคพอสมควร ดังบันทึกของท่านตอนหนึ่งว่า
“…ตอนนั้นในหมู่ประชาชนความคิดที่ว่าจะให้ครูเรียนถึงปริญญายังไม่มี ดังนั้นการเสนอให้ครูมีการศึกษาถึงระดับปริญญาตรีเป็นของที่แปลกมาก อีกประการหนึ่งนั้นจะให้สถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยประสาทปริญญานี้ยิ่งไม่เข้าใจใหญ่ ฉะนั้นพอกฎหมายไปถึงพรรคเสรีมนังคศิลาแล้ว ผมก็ต้องไปชี้แจงหนักหน่วงมาก เพราะท่านผู้แทนสมัยโน้นเขาไม่เข้าใจเลย เป็นวิทยาลัยอะไรให้ปริญญา? เป็นครู? เป็นศึกษาธิการอำเภอจะเอาปริญญาเชียวหรือ? ผมก็ต้องชี้แจงมากมาย…”
“…แต่พอมาถึงประเด็นที่ว่า วิทยาลัยจะประสาทปริญญาได้นี่ไม่เคยเห็น มีแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น เป็นแค่วิทยาลัยจะมาประสาทปริญญาไม่เห็นด้วย เป็นไปไม่ได้ ผมก็ออกไปชี้แจงอีก…แต่เขาก็ไม่ฟังเสียง เป็นวิทยาลัยจะมาประสาทปริญญาได้อย่างไร ตอนนั้นผมก็หนักใจมาก แต่ก็กัดฟันชี้แจงต่อไปอีก แล้วก็เป็นการบังเอิญมีรัฐมนตรีท่านหนึ่งซึ่งอยู่ในที่ประชุมและผมทราบลูกของท่านเรียนอยู่ที่วิทยาลัยแห่งหนึ่งในรัฐ California กำลังทำปริญญาเอกด้วย ทำไมทำได้ล่ะ เขาจึงค่อยเงียบเสียงลง…” (ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ปราชญ์ผู้ทรงศีล . 2531:63 – 64.)
อย่างไรก็ตามในที่สุดก็สามารถตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497 ระหว่างนั้นอาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 – 2513) และเป็นคณะกรรมการร่วมของโครงการพัฒนาการศึกษาด้วย ซึ่งให้ความสำคัญกับงานฝึกหัดครูอย่างมาก จากแนวคิดในการดำเนินการขยายการฝึกหัดครูระดับปริญญาไปสู่ส่วนภูมิภาคนั้น จึงได้มีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งขณะนั้นยังสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีความคล้ายคลึงทั้งในที่มา จุดประสงค์และการดำเนินการเพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพครู เหมือนกับกรมการฝึกหัดครู
1.2.3 วิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
บุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการศึกษาไทยท่านหนึ่ง คืออาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 – 2513) อีกทั้งมีภูมิลำเนากำเนิดอยู่ที่จังหวัดมหาสารคามซึ่งได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาตอนนั้นว่า ต้องการใช้การศึกษาพัฒนาชุมชนในชนบท โดยต้องรีบผลิตครูที่มีคุณภาพและจำนวนมากพอเพียงออกไปเป็นผู้นำ โดยการศึกษาฝึกหัดครูจะต้องเป็นขั้นๆ โดยลำดับจนถึงขั้นปริญญา ขณะเดียวกันก็ค่อยลดการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรลงจนเลิกไปในที่สุด และผลิตครูขั้นปริญญาเพิ่มขึ้นๆ และเมื่อถึงโอกาสอันสมควร สถานศึกษาฝึกหัดครู สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถาบันขั้นปริญญาต่างๆ ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันและจังหวัดใกล้เคียง ก็จะรวมกันเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค ทั้งนี้อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร ได้มีแนวคิดและเหตุผลที่เลือกจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัย “ครูปริญญา” ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นว่า
“…ทางภาคเหนือนั้น เดิมเราตั้งใจจะเปิดที่เชียงใหม่ก่อน แต่เมื่อมีมหาวิทยาลัยตั้งขึ้นในระยะที่เรากำลังดำเนินการอยู่ จึงเปิดที่พิษณุโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นขั้นแรกเตรียมจะเปิดที่อุบลหรืออุดรธานี แต่ในระยะนั้นแถบชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยเรียบร้อยจึงเปิดที่มหาสารคาม ในภาคใต้และภาคกลางก็จะเปิดหลายแห่ง แต่เนื่องจากกำลังคนมีจำกัด จึงเปิดเพียงสองแห่งไปตามกำลังคนที่มีอยู่ในขณะนั้น คือที่สงขลาและบางเขน…” (กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ. 2535: 137)
จึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปสู่ภาคต่างๆ ทุกภาค โดยได้เปิดสอนแห่งเดียวในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือเปิดที่พิษณุโลก (25 มกราคม 2510) ภาคใต้ที่สงขลา (1 ตุลาคม 2511) ภาคตะวันออกที่ชลบุรี (8 กรกฎาคม 2498) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาสารคามและกรุงเทพฯ ที่บางเขน (27 มีนาคม 2512)
ในส่วนของวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอันเกิดจากความไม่พร้อมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาคารสถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ครุภัณฑ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคามในเบื้องต้นเกือบทั้งหมดที่กล่าวมา ช่วยพยุงและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อร่างสร้างตัวซึ่งปัญหาดังกล่าว วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างประสบเช่นกันและแก้ปัญหาดังที่กล่าวมา
หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอกคือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้ทั้งสิ้น 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 เป็นนิสิต ที่คัดเลือกจากนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี
ในปีการศึกษา 2512 อาคารของวิทยาลัยได้สร้างเสร็จและสามารถเปิดใช้ได้ คือ อาคารเรียน 1 หอสมุด หอศิลป์ โรงอาหาร หอพักชาย และหอพักหญิง จากนั้นวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนามาตามลำดับ โดยในปี 2514 ได้มีการดำเนินการขอพื้นที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ของกองทัพ อากาศ ซึ่งได้ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามบินจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติมขึ้นมา
1.2.4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 ดังนั้น ในวันที่ 29 มิถุนายน 2517 โดยรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แล้วโอนไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการอันจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป ท่านจึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ออกเอกสารที่ช่วงนั้นเรียกว่า “เอกสารปกขาว” เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบ โดยคำปรารภของเอกสารชิ้นนี้ ได้กล่าวว่า
“…เมื่อข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2512 ได้พบว่าการดำเนินงานของวิทยาลัยวิชาการศึกษาไม่มีความคล่องตัวเป็นอันมาก จึงได้ร่างพ.ร.บ. ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเสนอต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2512 และรอรับฟังพิจารณาอยู่ 1ปีเต็ม จนถึงเมื่อวันที่ 28กรกฎาคม 2513 จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้ต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการอีกครั้งหนึ่ง และเสนอให้เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่งอาจจะเป็นเพราะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็น ‘วิทยาลัย’ ในความหมายของความเข้าใจของบุคคลทั่วไปว่า ไม่ใช่สถานศึกษาชั้นปริญญาในระดับมหาวิทยาลัย ดังที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินงานอยู่จริง จึงเห็นสมควรที่จะออกเอกสารฉบับนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลที่สนใจในการศึกษาขั้น ‘มหาวิทยาลัย…” (ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2541:270.)
โดยได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามลำดับ โดยเป็นการดำเนินการโดยวิธีการที่ถูกต้องตามขั้นตอนระเบียบแบบแผนของทางราชการ เริ่มตั้งแต่สภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สภาการศึกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จากนั้นเรื่องได้ติดชะงักไปในช่วงหนึ่ง อันเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศที่ไม่เอื้อในเวลานั้น การดำเนินการจึงได้มายุติโดยการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515
ความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิตได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับอย่างสม่ำเสมอและด้วยความจริงจัง ทั้งนี้โดยตระหนักจากการพิจารณาองค์ประกอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัยและประโยชน์อันจะเกิดขึ้นต่อวิทยาลัยและในวงกว้างทางการศึกษาและประเทศชาติต่อไป ทางวิทยาลัย จึงได้มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้ดังนี้
- วิทยาลัยวิชาการศึกษามีความพร้อมโดยสมบูรณ์ที่จะเติบโตเป็นมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทางวิทยาลัยมีความพร้อมของอุปกรณ์ประกอบการสอน อาจารย์ และอาคารสถานที่เพียงพอที่จะเปิดสอนสาขาอื่นๆได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น
- ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
- ความคล่องตัวในการบริหารงาน
- ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ความหลากหลายทางการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง
- ในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย จากการดำเนินการมาตามลำดับอย่างสม่ำเสมอและด้วยความจริงจัง กระทั่งในวันที่ 16 มกราคม 2517 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกฐานะ วิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ดังกล่าวมาข้างต้น หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้นำวิธีสอบคัดเลือกนิสิตเข้าศึกษาใน 2 ระดับ คือชั้นปีที่ 1 และ 3 ซึ่งในปีการศึกษานี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามยังคงรับนิสิตภาคปกติที่จบ ป.กศ. สูงเข้าศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยวิธีการสอบคัดเลือกเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีดังนี้ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ , ฟิสิกส์ , เคมี , ภูมิศาสตร์ ,คณิตศาสตร์ , ภาษาไทย , สังคมศึกษา ,ภาษาอังกฤษ , ชีววิทยา , และการประถมศึกษาซึ่งได้ใช้วิธีการสอบแข่งขันในการคัดเลือกผู้มาเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังได้ยกฐานะหน่วยงานสำคัญขึ้นมา 3 หน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2529 พร้อมกับคณะเทคโนโลยี คือ “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน” ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 198 หน้า 9 –10 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 และ “สำนักวิทยบริการ” ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 36 – 42 เล่มที่ 103 ตอนที่ 139 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2529และ “สถาบันวิจัยรุกขเวช” ตามประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536
1.2.5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่างๆ จนมีแนวคิดในการแยกตัวเป็นเอกเทศ ในปี พ.ศ. 2527 โดย ดร.ถวิล ลดาวัลย์ รองอธิการบดีเวลานั้นได้มีแนวความคิดที่จะรวมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลักๆของจังหวัดมหาสารคามเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่แนวคิดดังกล่าวได้ติดขัดปัญหาบางประการจึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น ปัญหาของต้นสังกัดเดิมของแต่ละสถาบัน เป็นต้น ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยกาญจนะ เป็นรองอธิการบดี จึงได้มีการเสนอให้แยกออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีกครั้ง โดยให้ลักษณะเป็นสถาบันในนามของสถาบันบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท แต่ให้มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย หากแต่ไม่อาจดำเนินต่อไปให้สัมฤทธิ์ผลได้เช่นกัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 เมื่อรองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมี เป็นรองอธิการบดี จึงได้มีสืบสานแนวคิดที่จะแยกตัวออกอีกครั้ง และเริ่มปรากฏผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ประกอบกับในช่วงเวลานั้น นายสุเทพ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยส่วนตัวท่านเองได้ให้สนใจและความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ในการสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานจึงได้เริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 จากนั้นจึงได้ดำเนินงานมาตามขั้นตอนจนสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงที่ รองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ศรีสะอาด เป็นรองอธิการบดี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54ก นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย
ในระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนั้นได้มีการทบทวนเรื่องชื่อของมหาวิทยาลัยเพื่อหาความเหมาะสมและเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่าย โดยการดำเนินการสำรวจประชามติให้เป็นเอกฉันท์ ซึ่งชื่อที่เสนอในครั้งนั้นมีความหลากหลายของที่มาและแนวคิด ตั้งแต่ชื่อมหาวิทยาลัยอีสาน มหาวิทยาลัยภัทรินธร มหาวิทยาลัยศรีเจริญราชเดช มหาวิทยาลัยศรีมหาชัย มหาวิทยาลัยศรีมหาสารคาม จนกระทั่งได้มาเห็นชอบพร้อมกันต่อชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเบื้องท้ายดังปรากฏในปัจจุบัน
ภายหลังได้มีการขยายพื้นที่มายัง “ป่าโคกหนองไผ่” ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ขณะนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นคนแรก (พ.ศ. 2538 – 2546) และได้ดำเนินการสร้างอาคารต่างๆตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ภายหลังจึงได้ย้ายศูนย์กลางบริหารงานมา ณ ที่ทำการแห่งใหม่ในปีการศึกษา 2542 อีกทั้งยังได้มีการเปิดสาขาวิชาและคณะใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดบริการทางการศึกษาให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะการบัญชีและการจัดการ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์- ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ และโครงการจัดตั้งคณะใหม่อีกทยอยเปิดในแต่ละปีการศึกษา คือ โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะการโรงแรมและการท่องเที่ยว และ คณะแพทย์ศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาใน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2540 เป็นปีการศึกษาแรกและยังได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทไปยังวิทยาเขตนครพนมและศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี โดยใช้สอน ระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ในเวลานี้ทางมหาวิทยาลัยยังได้มีโครงการที่กำลังดำเนินการและจะดำเนินการอีกมาก ทั้งนี้เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศชาติและองค์รวมเบื้องปลายต่อไป
1.3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[54]
1.3.1 ปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย
1) ปรัชญา
“พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว” :: ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
2) อัตลักษณ์
“นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน”
3) เอกลักษณ์
“การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน”
4) วิสัยทัศน์
“เป็นเลิศทางวิชาการ บูรณาการความรู้จากท้องถิ่นสู่สากล”
5) พันธกิจ
1. จัดการศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงโดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการศึกษาการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. สร้างผลิตผลจากงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่และมีคุณภาพในทุกสาขาวิชา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และนำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม
3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อให้ชุมชนและสังคมสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง เผยแพร่ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน
6) ปณิธาน
มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการสั่งสมแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับวิทยาการที่เป็นสากลให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาสามารถพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม
7) ค่านิยมองค์กร
TAKASILA
T : Teamwork การทำงานเป็นทีม
A : Accountability ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
K : Knowledge-Local based การใช้ความรู้เป็นฐานและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
A : Academic ความเป็นวิชาการ
S : Sufficiency Economy เศรษฐกิจพอเพียง
I : Innovation นวัตกรรม
L : Learning Organization การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
A : Achievement การมุ่งสู่ความสำเร็จ
1.3.2 ตราสัญลักษณ์ สี และต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์ คือ “ตราโรจนากร” ซึ่งมีความหมายว่าดวงตราแห่ง ความเจริญรุ่งเรือง มีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา ภายในมีสัญลักษณ์ขององค์ พระธาตุนาดูน ด้านล่างมีสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากลายขิด ซึ่งอยู่เหนือคำขวัญ ภาษา บาลี พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว มีความหมายว่า “ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน” ใบเสมา หมายถึง ความรู้หรือภูมิปัญญา องค์พระธาตุนาดูน เป็นปูชนียสถานอันเป็นสัญลักษณ์ แทนคุณธรรม และความดีงาม สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน ความหมายโดยสรุปของตราสัญลักษณ์ คือ ความเจริญรุ่งเรือง อันเป็น ผลจากความรู้ และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
สีประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ สีเหลืองและสีเทา สีเหลือง: ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความสมบูรณ์ สีเทา: ความคิดหรือปัญญา สีเหลืองเทา: การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความ เจริญรุ่งเรือง
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นคูน หรือ ต้นราชพฤกษ์
1.3.3 คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพนิสิต ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่การเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสังคม ที่สอดคล้อง กับแนวทางการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยตามปรัชญาว่า “ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน” มหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดอัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ “นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน” โดย กรอบแนวทางในการพัฒนานิสิตมุ่งเน้นการพัฒนานิสิตให้มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม โดยมุ่งหวังให้นิสิต 1) เป็นคนเก่ง (เก่งวิชาการ เก่งกิจกรรม) 2) เป็นคนดี (จิตอาสา คุณธรรม จริยธรรม) และ 3) มีความสุข (สวัสดิการ บริการ) ในการใช้ชีวิตอยู่ทั้งภายในมหาวิทยาลัย และภายนอก มหาวิทยาลัย และปลูกฝังค่านิยม “MSU FOR ALL” หรือ (พึ่งได้) คือ มีคุณธรรม (Moral) รับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) และมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity) โดยได้กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยไว้ 9 ประการ ได้แก่
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. มีคุณภาพทางวิชาการและวิชาชีพ
3. มีค่านิยม มีวัฒนธรรม และมีความรักชาติ รักองค์กร และรักท้องถิ่น
4. มีความอดทน มีสัมมาคารวะ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
5. มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมและรู้จักใช้ชีวิตที่พอเพียง
6. มีสุขภาวะและบุคลิกภาพที่ดี
7. มีวินัย เคารพกฎ ระเบียบ กติกาสังคม ดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
8. มีความสามารถวิเคราะห์และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ และมีวิจารณญาณในการพิจารณาตัดสินเลือกรับในสิ่งที่ดี
9. มีความรอบรู้ มีความทันสมัย ใฝ่เรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
1.3.4 คุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ผลการเรียนที่คาดหวัง หรือ คุณลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มี 9 ประการ ได้แก่
1. มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย
2. มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล และเข้าใจธรรมชาติ
3. เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
4. มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
5. มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการคิดแบบองค์รวม
6. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก
7. สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนในสังคมได้เป็นอย่างดี
8. สามารถใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทันและเหมาะสม
9. สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
1.3.5 มหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่[55]
ควันบุหรี่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผู้ไม่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 10 – 30 เปอร์เซ็นต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้การสนับสนุนกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อปฏิบัติตามจรรยปฏิบัติ (Code of Practice) ขององค์กรการค้าโลกที่ต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยอาศัยพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 ที่กำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดของสถานที่สาธารณะเป็น “เขตสูบบุหรี่” หรือ “เขตปลอดบุหรี่” ข้อที่ 2 (2.3) กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เฉพาะส่วนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ เป็น “เขตปลอดบุหรี่” ทั้งหมด โดยมีวิสัยทัศน์ว่า มหาวิทยาลัยทั้งหมดของไทยเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดทำประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และจัด “เขตการสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2557 เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่ภายในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้จัดโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ครั้งแรกและแถลงข่าวมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีการจัดกิจกรรมการเดินรณรงค์ การแสดงนิทรรศการให้ความรู้ความเข้าใจพิษภัยของบุหรี่ มอบป้ายมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ให้กับคณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนตามข้อตกลงและแนวปฏิบัติเพื่อบรรลุสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ร่วมกัน
ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้กำหนดข้อตกลงเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่และสร้างหลักประกันให้กับ นิสิต บุคลากร และผู้มาเยือนมหาวิทยาลัย ว่าสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารเรียนและสถานที่การทำงานนั้น ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคตข้างหน้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.3.5.1 ข้อตกลงในการเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่
1. จัดให้มีเครื่องหมาย “ห้ามสูบบุหรี่” ในสถานที่ไม่สูบบุหรี่หรือสถานที่ปลอดบุหรี่ ในพื้นที่สาธารณะให้เห็นอย่างเห็นได้ชัดเจน ประกอบด้วย ตัวอาคารสิ่งปลูกสร้าง ทุกอาคาร ทุกชั้น ในรั้วมหาวิทยาลัย ในยานพาหนะทุกคันของมหาวิทยาลัย บริเวณที่เปิดเผยต่อสาธารณะชน เช่น ริมถนน ทางเดินเท้า สระว่ายน้ำ สนามกีฬา บริเวณทางเข้า-ออกตัวอาคาร เป็นต้น
2. ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2557 ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และจัด “เขตการสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2557
3. ข้อตกลงนี้ จะมีการบรรจุอยู่ใน แผนปฏิบัติราชการ ในปี พ.ศ. 2558 (เป็นต้นไป)
4. ความรับผิดชอบในการปฏิบัติและการทบทวน เป็นของคณะกรรมการดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการบดี และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยบุคลากรมหาวิทยาลัย รับผิดชอบในการปฏิบัติและสนับสนุนการใช้ข้อตกลงนี้ รวมถึงดูแลการให้ข้อมูลต่อ นิสิตไทย นิสิตต่างชาติ บุคลากร อาจารย์พิเศษ อาจารย์ต่างชาติ ผู้ประกอบอาชีพในรั้วมหาวิทยาลัย ผู้อยู่อาศัยในรั้วมหาวิทยาลัย แขกผู้มาติดต่อ แขกผู้มาเยือนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงนิสิตและบุคลากรใหม่ เพื่อให้รับทราบข้อตกลงนี้
5. จัดเขตสูบบุหรี่ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยที่ได้ตามมาตรฐานกำหนด และ มหาวิทยาลัย จะค่อยๆ ปรับลดลงไปแต่ละปี
6. ยานพาหนะ ที่เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย ไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในรถประจำทาง หรือรถส่วนตัวที่เข้ามาใช้ในบริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
7. ไม่มีการขายบุหรี่ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และไม่รับการสนับสนุนใดๆ จากบริษัทบุหรี่
8. ให้มีเงื่อนไขคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในการทำสัญญาของร้านค้าในพื้นที่มหาวิทยาลัย
9. จัดให้มีการให้ข้อมูลพิษภัยของบุหรี่ และอันตรายของผู้สูบบุหรี่มือสอง ให้ทุกคณะ / หน่วยงาน
10. ห้ามนิสิตสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ในชุดนิสิต หากฝ่าฝืนให้ดำเนินการทางวินัยนิสิต ในระดับความผิดวินัยนิสิตไม่ร้ายแรง
11. ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นิสิต
12. มหาวิทยาลัยสนับสนุนบุคลากรและนิสิตในการเลิกบุหรี่ โดยจัดให้มีหน่วยให้คำปรึกษาและให้บริการเลิกบุหรี่ในมหาวิทยาลัย
13. มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้บุคลากรและนิสิต มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง
14. มหาวิทยาลัยจัดให้มีการสำรวจและประเมินความคิดเห็นต่อข้อตกลงนี้ เพื่อกระตุ้นความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายในพื้นที่มหาวิทยาลัย
1.3.5.2 แนวทางปฏิบัติต่อผู้ฝ่าฝืนข้อตกลง
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ ควรได้รับการตักเตือนอย่างสุภาพ เพื่อให้สูบในที่บริเวณที่มหาวิทยาลัยจัดเป็นบริเวณสูบบุหรี่ และสนับสนุนการเข้ารับบริการเลิกบุหรี่
2. ถ้าผู้สูบบุหรี่ปฏิเสธที่จะดำเนินการตามที่ตกลง ให้มีการรายงานถึงมหาวิทยาลัย
3. แขกหรือผู้มาเยือน ที่ไม่ทำตามข้อตกลง ควรได้รับการตักเตือนอย่างสุภาพ และควรได้รับการเชิญอย่างสุภาพให้ออกจากตัวอาคาร
4. บุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ไม่ทำตามข้อตกลงจะมีผลต่อการประเมินจากหัวหน้างาน
5. นิสิตในมหาวิทยาลัย ที่ไม่ทำตามข้อตกลง จะถูกลงโทษวินัยนิสิตตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยวินัยนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2554
6. ผู้ที่สูบบุหรี่ในพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ภายในเขตมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการตักเตือนแล้วยังไม่ปฏิบัติตาม มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย
7. บุคลากรหรือนิสิตที่ถูกลงโทษ จำเป็นจะต้องเข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
1.3.5.3 สถานที่ให้บริการเลิกบุหรี่ และศูนย์ประสานงาน
สถานบริการ เบอร์โทร ศูนย์ประสานงาน เบอร์โทร ร้านยามหาวิทยาลัย อาคารพลาซ่า 043-754584 งานวินัยนิสิต 043-754388 ร้านยามหาวิทยาลัย ท่าขอนยาง (ใกล้ Tesco lotus) 043-970234 ศูนย์บริการ กองอาคารสถานที่ 085-7449966 และ 043-754044 ร้านยามหาวิทยาลัย หลังตลาดโต้รุ่ง 043-712502 ศูนย์สายตรวจ 081-9656925 ศูนย์บริการทางการแพทย์ 043-722031 ฮอทไลน์ มมส. (24ชม.) 085-0100043 และ 085-0104544 สายด่วนเพื่อการเลิกบุหรี่ 1600 |
บรรณานุกรม
เอกสาร
จักรมนตรี ชนะพันธ์ สนามบินเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2465-2472 รายงานในรายวิชา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ. 2557
เติม วิภาคย์พจนกิจ ประวัติศาสตร์อีสาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2530
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ แนวคิดและแนวทางการศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทนิล 2554
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และ ร.ต.อ. สมบัติ ชูชัยยะ “ประวัติการขยายตัวชุมชนเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม” หนังสิอที่ระลึกเนิ่องในงานทอดผ้ากฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2537 ณ วัดมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หน้า 98-119 มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์ 2537
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ธีรชัย บุญมาธรรม และ ทม เกตุวงศา ข้อมูลฝ่ายวิชาการ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม 2546
ธีรชัย บุญมาธรรม ความ ( ไม่ ) รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม พิมพ์ครั้งที่ 1 ขอนแก่น : คลังนานา 2558
ธีรชัย บุญมาธรรม พัฒนาการเมืองมหาสารคาม พ.ศ.2408-2455 งานวิจัยของโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม 2547
ธีรชัย บุญมาธรรม พัฒนาการเมืองมหาสารคาม ช่วงเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น พ.ศ.2408-2455 มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์ 2554
สุจิตต์ วงษ์เทศ มหาสารคามมาจากไหน กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน 2553
ศรีศักร วัลลิโภดม แอ่งอารยธรรมอีสาน กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน 2533
ศิลปากร, กรม อดีตอีสาน กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา 2531
ศุกธิกานต์ มีจั่น , ปรีชญาณ์ นักฟ้อน “การพัฒนาความร่วมมือและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” วารสารสาระคาม ปีที่2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน,2554
อมรวงศ์วิจิตร หม่อม “พงศาวดารหัวเมืองอีสาน” ประชุมพงศาวดารเล่ม 3 กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา 2506
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี ตามหาร่องรอยขอมและมอญในมหาสารคาม ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท 2543
คำสัมภาษณ์
นายชัชวาล บะวิชัย ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 53 ปี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง นายวุฒิกร กะตะสีลา ผู้สัมภาษณ์ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559
นายประวัติ บัวไถล ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 63 ปี นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 88 ถนนถีนานนท์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 23 ธันวาคม 2559
นางประเยาว์ บัวไถล ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 63 ปี นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 88 ถนนถีนานนท์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 23 ธันวาคม 2559
นายทองม้วน วัฒนบูรณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ บ้านเลขที่ 882-883 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 26 กันยายน 2537
ทองเลี่ยม เวียงแก้ว ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557
นางนัด จันทราช อายุ 85 ปีผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1324 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2537
นายประพิส ทองโรจน์ อายุ 70 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1324 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นางรัศมี เทศแดง อายุ 60 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1220/1 คุ้ม นาควิชัย อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นางลออ ทองโรจน์ อายุ 70 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ โรงภาพยนตร์นครสวรรค์ บ้านเลขที่ 1324 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2537
นางศิริวรรณ สัตยาวิรุฬห์ อายุ 45 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1323 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2537
นายศุภรัตน์ วิปัชชา ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 53 ปี นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 4 ซอย 4/3 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคามวันที่ 20 ธันวาคม 2559
สิริทรทิพย์ ถิ่นสำอาง ผู้ให้สัมภาษณ์ นายณัฐพล นาทันตอง ผู้สัมภาษณ์ วันที่ 23 ธันวาคม 2559
นายสันต์ ศรีสถิตย์ อายุ 62 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1369/1 ถนน นาควิชัย อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายสุรสันต์ นันทะเสน อายุ 46 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายณัฐพล นาทันตอง ผู้สัมภาษณ์ วันที่ 23 ธันวาคม 2559
นายแสวง บุตรโพธิ์ อายุ 57 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1182/1 คุ้ม นาควิชัย อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นางอร วหุโต อายุ 85 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 1182/1 คุ้ม นาควิชัย อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายอดุลย์ศักดิ์ เสนารัตน์ ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 63 ปี นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา ผู้สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 88 ถนนถีนานนท์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 23 ธันวาคม 2559
นายโอสา ตีกา ผู้ให้สัมภาษณ์ อายุ 56 ปี นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง ผู้ สัมภาษณ์ ณ บ้านเลขที่ 100 ถนนเฉลิมพระเกียรติร.9 ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 24 ธันวาคม 2559
บทที่ 2
บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
นิสิตสามารถบอกความหมายและความสำคัญของการบริการวิชาการและการเป็นที่พึ่ง
ของสังคมได้
วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน
- บรรยายพิเศษ
- ให้สะท้อนการเรียนรู้ (Learning Reflection)
การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
- การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
- การทดสอบกลางภาคเรียน
บทนำ
โลกโลกาภิวัตน์ที่เรียกว่ายุค VUCA คือ ผันผวน เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว (Volatility) ไม่แน่นอน (Uncertainty) ซับซ้อน (Complexcity) และคลุมเครือไม่ชัดเจน (Ambiguity) ทำให้มหาวิทยาลัยที่แยกส่วนจากสังคมกำลังจะสิ้นยุคไป พันธกิจเดิมของมหาวิทยาลัย 4 ประการ ที่เน้นตนเองเป็นศูนย์กลางในการ สอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ต้องได้รับการทบทวนและปรับเปลี่ยนกรอบคิดใหม่ในการรับใช้สังคม และจำเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” โดยเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ “มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม” (Social Engagement University) สิ่งสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนไปให้ถึงเป้าหมายนี้ คือนิสิต บัณฑิต ศิษย์เก่า และบุคลากรในมหาวิทยาลัยทุกคน เป้าหมายและบทบาทของมหาวิทยาลัยในการรับใช้สังคม เปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและตระหนักร่วมกัน
เนื้อหา 1. มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม
2. รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
3. จิตอาสา
2.1 มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม
“มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม” หมายถึง มหาวิทยาลัยกับสังคมเป็น “หุ้นส่วน” กัน มีพันธกิจสัมพันธ์กัน มีการลงทุนร่วมกัน มีกิจกรรมความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการเรียนรู้ร่วมกัน และมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน เครือข่าย “พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม” แห่งประเทศไทย หรือ Engagement Thailand (EnT) กำหนดหลักการ 4 ประการของการเป็น “มหาวิทยาลัยหุ่นส่วนสังคม” คือ
1) การร่วมคิดร่วมทำแบบหุ้นส่วน (Partnership)
2) เกิดประโยชน์ร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Mutual benefit)
3) มีการใช้ความรู้และเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Scholarship)
4) เกิดผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้ (Social Impact)
โดยนิยามคำว่า “สังคม” รวมถึงกลุ่มบุคคลที่อาจเชื่อมโยงกับชุมชนในมิติของพื้นที่ เช่น สถานที่ทำงาน ชุมชนใกล้เคียง ทั้งที่เป็นทางการหรือไม่ทางการ หรือในมิติสังคม คืออยู่ในภาคส่วนเดียวกัน มีความสนใจร่วมกัน เช่น ชุมชนพื้นเมือง ชุมชนนักปฏิบัติ สมาคมวิชาชีพ โรงเรียน รัฐบาล ศิษย์เก่า เป็นต้น โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเชิงพื้นที่
2.1.1 การเรียนการสอน
การจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 19 หรือ 20 เนื่องจากนิสิตจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง หลักสูตรและการเรียนการสอนจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของสังคมและลักษณะของนิสิตผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรแบบเดิมที่ยึดอาจารย์ผู้สอนหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง ต้องสร้างโอกาสให้ตัวแทนชุมชนหรือสังคมเข้ามาร่วมกันออกแบบหลักสูตรและแนวทางในการผลิตบัณฑิต และรวมถึงมีส่วนร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน
นิสิตเองต้องปรับวิธีการเรียนรู้ของตนเอง จากเดิมที่เรียนเฉพาะสิ่งที่กำหนดไว้ในเนื้อหาของรายวิชา เฉพาะในชั้นเรียนหรือในมหาวิทยาลัย เปลี่ยนไปเป็นเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาโดยพิจารณาด้วยวิจารณญาณของตนเองว่าอะไรต้องรู้ อะไรควรต้องรู้ และอะไรที่น่าจะรู้ไว้ไม่เสียหลาย ส่วนอาจารย์ผู้สอน ต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากเดิมที่เน้นการบรรยาย (Lecture) ถ่ายทอดความรู้ มองนิสิตเป็นผู้รับ ต้องปรับบทบาทตนเองเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) เป็นครูฝึก (Coach) เป็นผู้จัดการชั้นเรียน (Classroom Manager) หรือเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องมีเป้าหมายร่วมกันชัดเจนในการเรียนรู้แต่ละวิชา
2.1.2 การวิจัย
ที่ผ่านมาการวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทำให้สังคมได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยน้อย โจทย์วิจัยส่วนใหญ่มาจากผู้วิจัย แม้จะมีผลงานหรือนวัตกรรมใหม่ แต่มักประสบปัญหาในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่สามารถนำความสำเร็จในห้องปฏิบัติการไปขยายต่อยอดได้ เนื่องจากความแตกต่างทั้งทางกายภาพและทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม จะให้ความสำคัญกับสังคมและชุมชนตลอดกระบวนการของงานวิจัย ตั้งแต่ร่วมกันพัฒนาโจทย์หรือปัญหาวิจัย ร่วมกันดำเนินการวิจัย ร่วมนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน และจัดแบ่งรายได้หรือได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม สังคมก็ได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย อาจารย์และนิสิตในมหาวิทยาลัยก็ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาจากสังคม มีชุมชนเป็นห้องปฏิบัติการในการทำวิจัยในสถานการณ์จริง
2.1.3 การบริการวิชาการ
การบริการวิชาการของมหาวิทยาลันหุ้นส่วนสังคม จะไม่ได้มองสังคมหรือชุมชนเป็น “ผู้รับ” มหาวิทยาลัยเป็น “ผู้ให้” แต่จะมองเป็น “หุ้นส่วน” กัน ตัวแทนสังคมหรือผู้นำชุมชนควรได้มีส่วนร่วม หรือได้ร่วมกันกับอาจารย์หรือนิสิตในการร่างข้อเสนอโครงการบริการวิชาการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน มีการดำเนินการร่วมกัน ฉลองความสำเร็จร่วมกัน และรวมถึงได้ถอดบทเรียนและกำหนดแนวทางพัฒนาต่อเนื่องด้วยกัน โดยบริหารจัดการทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน
2.1.4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
บทบาทการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัยในต่างประเภทไม่ได้กำหนดไว้ในพันธกิจ ดังนั้นการรับใช้สังคมในมิติด้านวัฒนธรรมจึงเป็นเอกลักษณ์ นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัย จึงถือเป็นกำลังสำคัญในการทำนุบำรุงและสืบสานงานด้านวัฒนธรรมต่างๆ ของสังคม การปลูกฝังให้นิสิตเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และเป็นผู้นำในการสืบสานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมกับสังคม ถือเป็นงานหลักประการหนึ่งต่อไป
2.2 รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีปรัชญานำทางในการดำรงอยู่และทำหน้าที่ในสถาบันอุดมศึกษาว่า “พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว” แปลว่า “ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน” หมายถึง การเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางปัญญา เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อสังคมและชุมชน มุ่งหมายในการสร้างเสริมคุณลักษณะของนิสิตให้มีอุดมการณ์ที่จะพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นผู้มีอัตลักษณ์ในการช่วยเหลือสังคมและชุมชน
มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติราชการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการบริการวิชาการสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยได้ริเริ่ม “โครงการหนึ่งชุมชนหนึ่งมหาวิทยาลัย” ในปี พ.ศ. 2554 นำสู่การปฏิบัติในระดับคณะ-วิทยาลัย โดยใช้ชื่อ “โครงการหนึ่งคณะหนึ่งชุมชน” และ “โครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรม” และขับเคลื่อนในระดับหลักสูตรในปี พ.ศ. 2555 ภายใต้ชื่อ “โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน” (ศุภชัย สมัปปิโต, 2561)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่า ควรให้มีการขับเคลื่อนองค์ความรู้และความสำเร็จจากโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนไปสู่นิสิตทุกคน จึงได้มอบหมายให้สำนักศึกษาทั่วไป พัฒนาหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้มีรายวิชาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเสริมให้บัณฑิตมีคุณลักษณะตรงตามอัตลักษณ์ของนิสิตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ว่า “นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน” โดยนำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์โดยเฉพาะอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของแต่ละคณะ-วิทยาลัย มาจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ จึงเป็นที่มาของการบรรจุรายวิชา 0035001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ไว้ในกลุ่มสหศาสตร์ ของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558) (สำนักศึกษาทั่วไป, 2558) และกำหนดให้นิสิตระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ทุกคน ต้องลงทะเบียนเรียน
วัตถุประสงค์ของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนคือ การปลูกฝังคุณธรรมตามอัตลักษณ์ของนิสิต สร้างเสริมให้เป็นผู้มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความรู้เบื้องต้นและทักษะทางปัญญาที่จำเป็นสำหรับการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำองค์ความรู้ในหลักสูตรที่ตนเองศึกษาไปพัฒนาชุมชน และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม
เพื่อให้การจัดการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าวนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่นิสิตต้องรู้จักตนเอง รู้จักชุมชน เข้าใจบทบาทหน้าที่ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัยในการให้บริการสังคมและชุมชน สำนักศึกษาทั่วไปจึงกำหนดจุดมุ่งหมายของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ให้เน้นใน 4 ประการ ได้แก่ 1) มีความรู้ความเข้าใจในปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ของหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย 2) เข้าใจความหมายและเห็นความสำคัญของการบริการวิชาการเพื่อชุมชนและสังคม 3) สามารถเรียนรู้และใช้เครื่องมือพื้นฐานในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชน และ 4) มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจ เสียสละ และมีจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
แนวคิดหลักในการพัฒนารายวิชาคือ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3 มิติ ได้แก่ บูรณาการกับการบริการวิชาการ บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และบูรณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัย ดังนี้
1) บูรณาการกับงานบริการวิชาการ โดยใช้โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของหลักสูตรที่ดำเนินการมาแล้ว เป็นกรณีตัวอย่างในการเรียนรู้ หรือใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของการจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงการหรือโครงงาน (Project-based Learning) หรือกำหนดชุมชนเป้าหมายของโครงการฯ เป็นเป้าหมายในการศึกษาแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เป็นต้น
2) บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดการเรียนรู้ให้นิสิตได้มีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้จากผลงานของโครงการหนึ่งคณะหนึ่งวัฒนธรรม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) บูรณาการกับงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน โดยนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยหรือกระบวนการวิจัย มาเป็นเนื้อหาเพิ่มเติม หรือเป็นกรณีศึกษาสำหรับการนำเอาผลการวิจัยไปใช้ในการบริการวิชาการรับใช้สังคมอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
สำนักศึกษาทั่วไปซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนารายวิชาไว้ 3 ประการ ได้แก่ 1) ใช้องค์ความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน และโครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรมของแต่ละคณะ-วิทยาลัย โดยกำหนดให้คณะ-วิทยาลัยเป็นผู้คัดเลือกและกำหนดรายชื่ออาจารย์ผู้สอน สำนักศึกษาทั่วไปทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน 2) บูรณาการการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา กับ โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน และ 3) เปิดโอกาสให้แต่ละหลักสูตรของคณะ-วิทยาลัย ได้ร่วมออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติวิชาของแต่ละสาขาวิชา
รูปที่ 1 แสดงแผนการสอน รายวิชา 0035001 หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน |
แผนการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลการศึกษาที่กำหนดไว้ในรายละเอียดรายวิชาฯ สามารถนำเสนอได้ในแผนผังดังรูป
2.3 จิตอาสา
จิตอาสา (service mind หรือ volunteer mind) คือผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหลักด้านจิตพิสัยของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การจะเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชนได้ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นิสิตต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสา
2.3.1 ความหมายของจิตอาสา
พจณานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. 2554 ไม่ได้กำหนดความหมายของคำว่า “จิตอาสา” หรือ “จิตสาธารณะ” ไว้โดยตรง แต่ให้นิยามคำที่เกี่ยวข้อง ได้แก่คำว่า “จิต” “จิตสำนึก” “อาสา” และ “สาธารณะ” ไว้ดังนี้
“จิต” เป็นคำนาม คือ ใจ คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ คิด และนึก
“จิตสำนึก” (conscious) เป็นคำนาม คือ ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย.
“อาสา” เป็นคำกิริยา คือ การเสนอตัวเข้ารับทำ
“สาธารณะ” เป็นคำวิเศษ คือ เพื่อประชาชน เช่น สวนสาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ เป็นต้น
ดังนั้น จึงมีผู้ให้ความหมายของคำว่า “จิตอาสา” และ “จิตสาธารณะ” ไว้หลากหลาย แม้จะแตกต่างกันบ้างแต่สาระหลักจะคล้ายกัน จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ให้คำจำกัดความของคำทั้งสองไว้ได้อย่างชัดเจนที่สุดท่านหนึ่งคือ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงใหญ่ (2555) ดังนี้
“จิตอาสา” (volunteer mind) หมายถึง จิตใจที่คิดช่วยเหลือผู้อื่น จิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา โดยมีปัญญาเป็นเครื่องกำกับ เป็นการกระทำที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการเบียดเบียนตนเอง ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน 2) การเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ 3) การมุ่งมั่นพัฒนาสิ่งรอบตัวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
“จิตสาธารณะ” (public mind) บางครั้งอาจใช้คาว่า จิตสำนึกสาธารณะ หมายถึง จิตใจที่คำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คำนึงถึงบุคคลอื่นที่ต่างมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้ง มีความสานึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประหยัด และมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ส่งผลทำให้แสดงพฤติกรรมหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การงดเว้นการกระทำที่จะส่งผลทำให้เกิดความชารุดเสียหายของทรัพย์สินส่วนรวม 2) การมีส่วนร่วมดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนรวม และ 3) การเคารพสิทธิของบุคคลอื่นในการใช้ทรัพย์สินส่วนรวม บางครั้งหมายถึงจิตอาสา
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจิตอาสาและจิตสาธารณะ ถ้าใช้มุมมองของการคิดที่เป็นระบบ ไม่มองแยกส่วน จะพบว่า จิตอาสาและจิตสาธารณะเป็นสิ่งที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน การมีจิตอาสาทำให้แสดงพฤติกรรมออกมาซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในระดับส่วนบุคคลหรือในระดับส่วนรวม ถ้าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมสิ่งนั้นจะกลายเป็นจิตสาธารณะ ส่วนการมีจิตสาธารณะ บางครั้งต้องอาศัยจิตอาสาเป็นสิ่งกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมเช่นกัน (วิชัย วงใหญ่, 2555)
2.3.2 แนวทางการพัฒนาจิตอาสา
การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสาไม่มีวิธีการหรือรูปแบบตายตัว สิ่งสำคัญคือการตั้งเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่การเป็นผู้มีจิตอาสา และเริ่มต้นทันทีกับการคิดและการกระทำในชีวิตประจำวัน โดยปฏิบัติให้ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นกิจวัตรที่ส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตอาสา เช่น การฝึกให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การฝึกตัดสินใจโดยคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตนเอง ฯลฯ
จิตอาสา ไม่สามารถสอนได้โดยการ “ถ่ายทอดความรู้” หรือ “บังคับ” ต้องใช้วิธีการปลูกฝังหรือบ่มเพาะให้เกิดเป็นนิสัย แนวทางที่รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงใหญ่ ได้นำเสนอไว้ 6 ประการ มีดังต่อไปนี้
- การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตอาสา ซึ่งสังคมสากลยอมรับและตั้งเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาพลเมืองโลก จะนำพาให้นิสิตพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้มีคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคมและชุมชน และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของโลก เป็นเส้นทางแห่งการค้นหาความหมายในชีวิต ซึ่งเป็นจะนำให้เข้าสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ต่อไป
- การมีแบบอย่างที่ดีด้านจิตอาสา การได้เห็นและมีศรัทธา ชื่นชมตัวอย่างบุคคลผู้ที่มีจิตอาสาเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้เกิดจิตอาสาขึ้นในใจ สังคมควรให้ความสำคัญกับเรื่องจิตอาสาจะยกย่อง เชิดชู และยกเอาผู้มีจิตอาสาเป็นต้นแบบ
- พัฒนาจิตอาสาจากการลงมือปฏิบัติทั้งในกิจวัตรประจำวันและผ่านกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา เสียสละ การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Learning by doing) ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การเรียนรู้ผ่านโครงการ (Project-based Learning) การเรียนรู้ผ่านการบริการสังคม (Service Learning) ฯลฯ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ว่าสามารถยกรับจิตอาสาอย่างได้ผล
- เรียนรู้ภายในตนเองผ่านการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) สะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง (Self-Reflecting) เกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตอาสาของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอาสา หากอยู่ในสังคมที่ส่งเสริมจิตอาสาและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน จะมีพลังทางสังคมสนับสนุนให้เป็นผู้มีจิตอาสาได้ง่าย การเลือกคบเพื่อนหรือกัลยาณมิตรที่ดีมีความสำคัญมาก
เอกสารอ้างอิง
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต. บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการรับใช้สังคม. สืบค้นเมื่อ 21มิถุนายน 2561. จาก www.tsdf.or.th/elctfl/articlefile/article-file-10233.pdf
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2555). จิตอาสา ในสารานุกรม วิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา
สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2558). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน, จาก http://genedu.msu.ac.th/2016/
บทที่ 3
การศึกษาชุมชน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
- นิสิตสามารถเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนได้
- นิสิตสามารถใช้เครื่องมือศึกษาชุมชนเบื้องต้นในการเรียนรู้ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมได้
วิธีการสอน/กิจกรรมการเรียนการสอน
- สอนโดยใช้กิจกรรมในชั้นเรียน
- สอนโดยให้แสดงบทบาทสมมติ
- สอนโดยมอบหมายงานกลุ่มให้ทำโครงการบริการวิชาการหรือโครงการบริการชุมชนหรือสังคม
- บรรยายสรุป
การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
- การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
- การทดสอบกลางภาคเรียน
- สังเกตจากผลงานและผลการประเมินโครงการ
บทนำ
ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความหมาย กระบวนการ วิธีการ และเทคนิคการใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน รวมถึงข้อควรระวังและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่นิสิตทุกคนจะต้องได้เรียนรู้ ก่อนจะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงในการเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชนด้วยตนเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ผ่านการทำโครงการบริการวิชาการหรือโครงการบริการชุมชนหรือสังคม
เนื้อหา
- ความหมายของชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
- ความหมายของการพัฒนาชุมชน
- กระบวนการพัฒนาชุมชน
- วิธีการและเครื่องมือในการศึกษาชุมชน
- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชน
- การแนะนำตัว
- เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
- การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในชุมชน
- ข้อพึงระวังในการเข้าพื้นที่ชุมชน
- การออกจากชุมชน
ถอดบทเรียนจากการบรรยายของอาจารย์สายไหม ไชยศิรินทร์ ประธานสาขาวิชาพัฒนาชุมชน
และ ผลงงานของ ผศ.ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
3.1.1 ความหมายของชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
ศาสตราจารย์สัญญาวิวัฒน์ นักสังคมวิทยาอาวุโสของสังคมไทย ได้ให้ความหมายของชุมชนไว้ว่า “องค์การทางสังคมอย่างหนึ่งที่มีอาณาเขตครอบคลุมท้องถิ่นหนึ่ง ที่ปวงสมาชิกสามารถบรรลุถึงความต้องการพื้นฐานส่วนใหญ่และสามารถแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ในชุมชนของตนเองได้”
ศาตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสของสังคมไทย ได้ให้ความหมายว่า “การที่คนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความพยายามทำอะไรร่วมกัน มีการรับรู้ร่วมกันซึ่งรวมถึงการติดต่อสื่อสารกัน”
รายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน เป็นรายวิชาที่จัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหลักสูตร ทำให้ลักษณะของชุมชนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสาขาหรือหลักสูตรแตกต่างกันมาก ดังนั้น ความหมายของชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จึงควรกำหนดให้ครอบคลุมความหมายทั้งหมดที่กล่าวมา และมีความยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งผู้เรียนและชุมชน ดังนี้
ชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจเหมือนกัน หรือองค์กรทางสังคมที่มีการใช้กฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบร่วมกัน ที่สมาชิกมีปฏิสัมพันธ์กันหรือความสัมพันธ์กันหรือมีการรับรู้ร่วมกัน มีการสื่อสารเพื่อทำอะไรร่วมกัน
ชุมชนในบริบทของรายวิชาหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จึงเป็นชุมชนที่แตกต่างหลากหลายไปตามธรรมชาติทางวิชาการของแต่ละหลักสูตร เช่น ชุมชนเชิงพื้นที่ (กำหนดอาณาบริเวณ) เช่น หมู่บ้าน เทศบาล ฯลฯ ชุมชนที่เป็นกลุ่มคน (มีความสนใจเดียวกัน) เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้เลี้ยงปลา กลุ่มทำฟาร์มเห็ด สมาคม ครูสอนสาระวิชาเดียวกัน ฯลฯ ชุมชนสถาบันทางสังคม เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด ฯลฯ ชุมชนนักปฏิบัติ (Coperative Community; CoP) หรือชุมชนทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เช่น ครู อาจารย์ ช่างยนต์ มัคคุเทศก์ ฯลฯ หรืออาจเป็นชุมชนเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงการซื้อขายออนไลน์ด้วย เช่น ตลาดนัด ตลาดนัดออนไลน์ ฯลฯ
3.1.2 ความหมายของการพัฒนาชุมชน
คำว่า “พัฒนา” หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่งในทางที่ดีขึ้น การพัฒนาอาจแยกได้เป็น 2 แบบ คือ การริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ เช่น การประดิษฐ์คิดค้น ฯลฯ และการปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น การพัฒนาต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งด้านวัตถุและจิตใจไปพร้อมๆ กัน
การพัฒนาชุมชนจึงหมายถึง การพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ด้วยวิธีการ (Method) ขบวนการ (Movement) และกระบวนการ (Process) ที่กำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ชุมชนส่วนรวมดีขึ้น โดยให้สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาชุมชน 3 ประการ ได้แก่ ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนอยู่ดีมีสุข และชุมชนน่าอยู่
ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง คนมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาของตนเองและชุมชนได้ สมาชิกแต่ละคนนำความสามารถของตนเองออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และที่สำคัญคือสมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน มีความสามัคคีกัน ชุมชนอยู่ดีมีสุข หมายถึง คนในชุมชนคุณภาพชีวิตที่ดี มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและชุมชนดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ผู้คนมีจิตใจดี เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ มีสิทธิและอิสรภาพตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3.1.3 กระบวนการพัฒนาชุมชน
กระบวนการพัฒนาชุมชน มีอย่างน้อย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน จัดลำดับปัญหาและความต้องการของชุมชน การวางแผนพัฒนาในลักษณะโครงการ การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน การประเมินผลความสำเร็จของโครงการ และการทบทวนปัญหาและอุปสรรค์
การศึกษาชุมชน คือ การเข้าไปศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ของชุมชน ทั้งทางด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ของการศึกษาชุมชนที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษาชุมชนหลักๆ ที่สำคัญ ได้แก่1) เพื่อหาข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน 2) เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่หรือเพิ่มเติมองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับชุมชนเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และ 3) เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ศึกษา
3.1.4 วิธีการและเครื่องมือในการศึกษาชุมชน
การศึกษาชุมชนที่จะทำความเข้าใจบริบทของชุมชน ทำเป็นต้องอาศัยการใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาในมิติต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อและเที่ยงตรง โดยปกติแล้วกระบวนการศึกษาชุมชนจะเกี่ยวข้องกับประเด็นที่เป็นสภาพทั่วไป ทุนของชุมชน ปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการนำทางไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีเครื่องมือที่สำคัญๆ 3 ประการ ได้แก่ การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์ (Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ดังมีรายละเอียดดังนี้
3.1.4.1 การสังเกต (Observation)
1) ความหมาย
การสังเกตคือ กระบวนการการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏการณ์ โดยใช้ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น หรือผิวกายสัมผัส อย่างเอาใจใส่ อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ๆ กับบริบทรอบข้าง วัตถุประสงค์หลักของการสังเกตคือการทำความเข้าใจลักษณะธรรมชาติและปรากฏการณ์ของชุมชน และพฤติกรรมของผู้คนในชุมชน
2) ประเภทของการสังเกต
โดยปกติแล้วการสังเกตมี 2 ประเภทได้แก่
1.1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation/Field observation) คือ กระบวนการที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ทำการศึกษา ทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้คนในชุมชนยอมรับ
1.2) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เป็นกระบวนการสังเกตที่ผู้สังเกตเฝ้าอยู่วงนอก ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่ทำการศึกษา เป็นเพียงเฝ้าสังเกตพฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยเป็น ภายใต้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมยังจำแนกออกเป็น
1.2.1) การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structure observation) เป็นการสังเกตการณ์ที่เป็นระบบ ผู้ศึกษาทราบถึงวัตถุประสงค์ของการสังเกตการณ์ มีการเตรียมการสิ่งที่ต้องการสังเกตไว้ล่วงหน้า ข้อที่ต้องศึกษา และวิธีการวิเคราะห์ทำให้สามารถที่จะสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบ
1.2.2) การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured observation) เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้ศึกษาได้เตรียมวัตถุประสงค์ของการสังเกตไว้ล่วงหน้า เนื่องจากการสังเกตแบบนี้เป็นการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงตามธรรมชาติ ตามปกติวิสัย และพฤติกรรมที่แสดงออกจึงเป็นไปตามเงื่อนไขของบุคคลนั้น ผู้ศึกษาไม่อาจจะเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้
3) ข้อดีของการสังเกต
4) ข้อจำกัดของการสังเกต
5) เทคนิคเบื้องต้นของการสังเกต
เทคนิคในการสังเกตมีหลากหลาย ไม่ตายตัว นิสิตอาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายๆ วีธีในการสังเกต
ในขณะเดียวกันในการบันทึกข้อมูลที่สังเกตเห็นจะต้องรีบจดบันทึกสั้นๆ เพื่อกันลืมแล้วขยายใจความทีหลัง อาจวาดภาพ แผนผังประกอบการบันทึก ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงด้วยว่าในขณะที่บันทึกผู้สังเกตจะต้องดูบรรยากาศเหตุการณ์ว่าอำนวยในการบันทึกหรือไม่
3.1.4.2 การสัมภาษณ์ (Interview)
1) ความหมายของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาซักถามอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จะช่วยอธิบายสิ่งที่พบเห็นหรือสังเกตได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงสร้างของคำถามและสามารถควบคุมทิศทางโครงสร้างของเนื้อหาให้เป็นเรื่องที่ต้องการทราบหรือปัญหาในการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2540) โดยมีจุดสนใจของการสัมภาษณ์ คือ การหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎ ระเบียบหรือ ระบบความหมายที่เหตุการณ์หรือปรากฎการณ์สังคมหนึ่งๆ มีอยู่
2) องค์ประกอบของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์จะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำหรือความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้ถูก(ให้)สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ โดยหลักของการสัมภาษณ์ที่ดีควรต้องคำนึงทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ดังนี้
1. ผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลที่แท้จริงในประเด็นที่ต้องการศึกษา ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์สามารถที่จะแสดงออกในการตอบคำถาม ตามความคิดเห็นของตนเอง
2. ผู้สัมภาษณ์ อาจจะเป็นผู้ศึกษา และ หรือ บุคคลอื่นที่ผู้ศึกษาได้คัดเลือกให้เป็นผู้สัมภาษณ์ ซึ่งต้องได้รับการฝึกฝนวิธีการสัมภาษณ์ ในขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะทำการศึกษาอย่างละเอียดเพื่อให้สามารถซักถามผู้ให้สัมภาษณ์ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์
3) ประเภทของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ 4 ประเภท ได้แก่
แบ่งตามเทคนิคการสัมภาษณ์ แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
4) หลักการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ เที่ยงตรงจะต้องมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
5) ข้อดีของการใช้เทคนิคการสัมภาษณ์
6) ข้อจำกัดของการสัมภาษณ์
1. ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะน่าเชื่อถือ และสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้สัมภาษณ์ให้ความร่วมมือ และผู้สัมภาษณ์มีเทคนิคและทักษะในการสัมภาษณ์ และการตั้งคำถามเพื่อตอบให้ได้ตรงตามประเด็นที่ต้องการ
2. การสัมภาษณ์บางครั้งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจทันทีของผู้ให้สัมภาษณ์ อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้
3. สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงาน
3.1.4.3 เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
1) ความหมายของการสนทนากลุ่ม
การสนทนากลุ่ม เป็นวิธีการศึกษาชุมชนที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาพรวม เช่น ทัศนคติ ความคิดเห็น ซึ่งมักจะเริ่มจากการเลือกบุคคลที่มีคุณลักษณะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน (Homogeneous group) มารวมกลุ่มเพื่อสนทนากัน โดยจะมีผู้นำการสนทนา ที่เรียกว่า Moderator ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการนำประเด็นการสนทนาและมีทักษะในการควบคุมสถานการณ์ในการสนทนาได้เป็นอย่างดี โดยปกติแล้วการสนทนากลุ่มจะต้องเลือกสถานที่ที่มีบรรยากาศที่สงบปราศจากเสียงรบกวน หรือมีปัจจัยภายนอกเข้ามารบกวน
รูปแบบการสนทนากลุ่ม จะเป็นการนั่งพูดคุยสนทนาระหว่างคนมากกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 12 คน หรือ การเป็นพูดคุยกลุ่มเล็ก โดยมีผู้ดำเนินการสนทนาและมีผู้คอยจดประเด็นการพูดคุยของสมาชกในกลุ่ม ชัดจูงให้ผู้ร่วมสนทนาให้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่ยกขึ้นมาเพื่อเปิดกว้างให้ผู้เข้าร่วมสนทนา ร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นร่วมกัน และหาข้อสรุป
2) องค์ประกอบในการสนทนากลุ่ม
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
3) ขั้นตอนในการสนทนากลุ่ม
ขั้นตอนในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย
3.1.4.4 เครื่องมือ 7 ชิ้นของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
ในเครื่องมือของการศึกษาชุมชนในมุมมองของสายมานุษยวิทยา ได้จำแนกเครื่องมือในการศึกษาชุมชนเพื่อทำให้การศึกษาชุมชนมีวิธีการที่ชัดเจนขึ้น ได้แก่ แผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ปฏิทินชุมชน แผนที่ทรัพยากร แผนผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน และประวัติชีวิตบุคคลสำคัญ ซึ่งเสนอโดย นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2545) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) แผนที่เดินดิน
เป็นเครื่องมือในการศึกษาชุมชนด้วยวิธีการเดินสำรวจด้วยตา และมีการจดบันทึกสิ่งแวดล้อมที่สังเกตพบทั้งในมิติกายภาพ และชีวภาพ เพื่อสร้างภาพให้เกิดความเข้าใจต่อความหมายทางสังคม (Social meaning) และหน้าที่ทางสังคมของสถาบันต่างๆในชุมชน (Social function) ของพื้นที่กายภาพ ด้วยวิธีการง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานในขณะเดียวกันการทำแผนที่เดินดินผู้นำชุมชนและผู้ศึกษาควรวางแผนการสำรวจไปพร้อมกันเพื่อให้ได้รายละเอียดมากที่สุด
เป้าหมายของการใช้แผนที่เดินดินเพื่อการศึกษาชุมชนเพื่อทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชน และเป็นการเก็บข้อมูลได้ค่อนข้างมากในเวลาที่จำกัด และสามารถสามารถฉายภาพรวมของชุมชนได้ ในขณะเดียวกันก็ข้อมูลที่ได้ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือเนื่องจากผู้ศึกษาเป็นผู้สังเกตได้ด้วยตนเอง และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปขยายรายละเอียดในมิติอื่นๆ
หลักการหรือเทคนิคในการทำแผนที่ชุมชนที่สำคัญๆ มีดังนี้
2) แผนผังเครือญาติ
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติในชุมชน ที่เกิดขึ้นของคนในชุมชนทั้งโดยสายเลือดและจากการแต่งงาน เพื่อให้รู้จักเครือข่ายทางสังคม (Social Network) การใช้ผังเครือญาติจะมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจชุมชนและสังคม เพราะเครือญาติเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิตและครอบครัวและจะมีความเกี่ยวข้องกันไปตลอดชีวิต และสามารถทำให้ผู้ศึกษาสร้างความคุ้นเคยกับคนในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว โดยการรู้จักและเข้าใจความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติในชุมชน
การทำผังเครือญาตินิยม ใช้สัญลักษณ์มาตรฐานที่เข้าใจตรงกันในการทำผังเครือญาติ และการถอดผังเครือญาติอาจจะกระทำได้อย่างน้อย 3 ชั่วอายุคนขึ้นไป
3) โครงสร้างองค์กรชุมชน
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมของชาวบ้านในแง่มุมต่างๆ ทั้งโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ของชุมชน ด้วยการศึกษาสถาบัน องค์กร กลุ่มต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์เชิงสถานภาพ บทบาท หน้าที่ และ อำนาจระหว่างองค์กรภายในชุมชน การศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชนจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถสังเกตบทบาทสถาบัน องค์กรและบุคคลต่างๆ ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุมชน นอกจากนี้จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถจัดความสัมพันธ์ของตนเองกับชุมชนได้อย่างเหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง ชุมชนและสามารถนำข้อมูลมาประกอบภาพของชุมชนให้มีความชัดเจนมากขึ้น
วิธีการการทำผังโครงสร้างองค์กรชุมชน เริ่มจากการทำความเข้าใจแบบแผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชนในมิติต่างๆ ทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สัมพันธ์ทางสังคม สัมพันธ์ทางการเมือง โดยการสัมภาษณ์ พูดคุย การสังเกต ( มองที่การปฏิบัติการขององค์กร Organization in Action ) จนเข้าใจแล้ว จึงนำมาประมวลเป็นผังโครงสร้างอย่างเป็นระบบโดยกำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการทำผังโครงสร้างองค์กรชุมชน ตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1เริ่มจากผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน ( ทางการ/ ไม่เป็นทางการ ) เขียนเส้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับบุคคลทีมีความสัมพันธ์ / บทบาทที่เกี่ยวข้อง ใกล้ชิด
ขั้นที่ 2เขียนเส้นแสดงความสัมพันธ์ของคนทุกคนที่อยู่ในแวดวงของผู้นำในลักษณะเดียวกัน
ขั้นที่ 3ทำเช่นเดียวกับผู้นำหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีความสำคัญในชุมชน เช่น ผู้นำด้านศาสนา พิธีกรรมความเชื่อ ประธานกลุ่มต่างๆ รวมทั้งคนที่ไม่มีตำแหน่งทางการแต่มีบทบาทสำคัญในชุมชน เขียนเป็นเครือข่ายแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 4นำเครือข่ายของบุคคลต่างๆ มาโยงกัน เป็นผังโครงสร้างองค์กรชุมชน
4) ระบบสุขภาพชุมชน
เป็นเครื่องมืออีกชนิดที่ใช้ในการศึกษาชุมชนทำให้เห็นภาพรวมของระบบสุขภาพชุมชนอย่างเชื่อมโยงกับมิติของชุมชนรวมทั้งความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพที่ดำรงอยู่ในชุมชนเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมหรือเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของคนในชุมชน โดยออกแบบหัวข้อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์
5) ปฏิทินชุมชน
เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านว่าในหนึ่งรอบปี กิจกรรมการผลิต วัฒนธรรมประเพณีในชุมชนมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นอย่างไร เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตชาวบ้าน ทั้งวงจรและจังหวะการทำงานในรอบปีว่าชาวบ้านทำอย่างไรบ้างในช่วงเวลาใด และยังเป็นเครื่องมือที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความสัมพันธอันดีกับชาวบ้าน ในชุมชน และเกิดความรู้สึกที่ดี และมีความไว้วางใจมากขึ้น และสามารถทราบได้ว่าช่วงเวลาใด จังหวะใดของชุมชนที่เหมาะสมในการวางแผนงานโครงการ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
การทำปฏิทินทางเศรษฐกิจ เริ่มจากการจัดทำปฏิทินทางเศรษฐกิจ แยกประเภทอาชีพของชาวบ้าน ช่วงเวลาใด ทำอะไร เขียนแจกแจงในแต่ละเดือน เช่น อาชีพทำนา การหว่านไถ ลงกล้า ปักดำ เก็บเกี่ยว ช่วงใดเดินทางไปทำงานต่างถิ่น แล้วค่อยลงมือจัดทำปฏิทินวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมที่สำคัญ ที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของชาวบ้านในชุมชน และมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในแต่ละเดือน อาจเข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในงานประเพณีทั้งหลาย จะทำให้รู้รายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น ทำอะไรบ้าง ใครเข้าร่วม การประกอบพิธีกรรม
ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมแตกกรอบจากวิจัยของโหนดทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด (2554)
6) ประวัติศาสตร์ชุมชน
เป็นเครื่องมือในการศึกษาเรื่องราวความเป็นมาประวัติศาสตร์ของชุมชนในมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชน การใช้เครื่องมือประวัติศาสตร์ชุมชนจะช่วยให้ผู้ศึกษาเห็นภาพรวมและประวัติความเป็นมาของชุมชนชัดเจนขึ้น ผ่านมิติของเวลา ที่จะช่วยให้เข้าใจความคิด เหตุผลและการแสดงออกของผู้คนในระยะเวลาที่แตกต่างกัน
เป้าหมายของการใช้เครื่องมือประวัติศาสตร์ชุมชนเพื่อ 1) ทำให้ทราบถึงที่มาที่ไปของปรากฏการณ์ ปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนแต่ละช่วงเวลา 2) ทำให้ทราบพัฒนาการร่วมกันของชุมชน ที่มีส่วนในการกำหนดความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านได้ 3) ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในชุมชน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำชุมชนกับชาวบ้าน ความสัมพันธ์ของชุมชนกับนโยบายรัฐ และ 4) ช่วยให้ผู้ศึกษาตีความปรากฏการณ์ของชุมชนตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง ผ่านการวิเคราะห์เรื่องราวของชุมชน และสามารถกำหนดประเด็นที่มีความน่าสนใจและสำคัญในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
ประเด็นในการเก็บข้อมูลด้วยการใช้เครื่องมือประวัติศาสตร์ชุมชน ไดแก่
1) ประวัติความเป็นมาของชุมชน ผู้ก่อตั้ง การขยายตัวของชุมชนแต่ละช่วง 2) พิธีกรรมที่ความสำคัญๆในอดีตเป็นอย่างไร 3) เหตุการณ์ร่วมที่สำคัญๆ ในชุมชน ที่ผ่านมา เช่น เริ่มมีถนน ไฟฟ้า น้ำประปา เหตุการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคระบาด การเกิดขึ้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเข้ามาของอาชีพใหม่ในชุมชน การบุกเบิกที่ดินทำกิน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชนจากนโยบายการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น
7) ประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจ
การสัมภาษณ์และถอดบทเรียนจากประวัติชีวีตของบุคคลที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชุมชน จะทำให้ผู้ศึกเข้าใจสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของชุมชนมากขึ้น โดยมักเขียนในลักษณะ Timeline อธิบายปัญญาปฏิบัติของคนสำคัญในชุมชน
3.1.5 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชน
3.1.5.1 ปรับฐานคิดหรือกระบวนทัศน์ให้ถูกต้อง
ก่อนที่จะเข้าศึกษาชุมชน ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาจะต้องมีฐานคิดสำคัญต่อการมองภาพของชุมชน 4 ประการ ดังนี้
1. ชุมชนไม่ใช่ภาชนะที่ว่างเปล่า การมองชุมชน “เปรียบเสมือนกับภาชนะว่างเปล่า ที่ไม่มีอะไรอยู่ข้างในเลย” จะเกิดการเข้าไปกำหนดทุกอย่าง โดยไม่ได้ดูว่าชุมชนมีศักยภาพหรือทุนทางสังคมอะไรอยู่บ้าง ทำให้ชุมชนต้องเป็นฝ่ายรอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ หรือ องค์กรภายนอกที่จะนำความรู้ เทคโนโลยีอุปกรณ์ เครื่องมือ และระเบียบวิธีการจัดการต่างๆ เข้าไปให้ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิดในการพัฒนาชุมชน
2. ชุมชนไม่ได้อยู่แบบแยกส่วนในแต่ละมิติ หากแต่ชุมชนคือองค์รวม และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในมิติของประวัติศาสตร์ โครงสร้างสังคม ระบบเศรษฐกิจ ระบบความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานไม่ควรมองชุมชนแบบขาดการเชื่อมโยง เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องแยกเป็นส่วนๆ โดยไม่มองปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลเชื่อมโยงถึงกัน
3. ชุมชนไม่ได้มีองค์กรเดียว เมื่อลงไปเกี่ยวข้องกับองค์กรชุมชน เรามักจะนึกถึงองค์กรผู้นำที่เป็นทางการอย่างเดียว เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้ใหญ่บ้าน (ผญ.บ.) กรรมการหมู่บ้าน (กม.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในขณะที่องค์กรหรือผู้นำธรรมชาติอื่นๆ นั้นเรามักไม่ได้ให้ความสนใจ แต่ในวิถีชีวิตจริงของชาวบ้านมักมีกลุ่มที่รวมตัวกันเองตามธรรมชาติ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุที่ถือศีลอยู่ในวัดช่วงเข้าพรรษา กลุ่มคนเลี้ยงวัว กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันไปปลูกแตงในฤดูแล้ง กลุ่มพ่อบ้านที่รวมตัวกันไปทำงานต่างถิ่น หรือแม้แต่คณะกรรมการผ้าป่า กลุ่มศรัทธาวัด หรือกลุ่มเล่นแชร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรชุมชนลักษณะหนึ่ง แต่เรามักไม่ได้ให้ความสนใจกับองค์กรที่ไม่เป็นทางการเหล่านี้ ทำให้เราเห็นศักยภาพของชุมชนอย่างจำกัด (โกมาตร, 2550)
4. ชุมชนทุกชุมชนไม่เหมือนกันหมด หากนักพัฒนามีฐานมาจากความคิดที่ว่า “หากแผนงานโครงการหนึ่งทำสำเร็จในที่หนึ่งก็สามารถขยายผลไปทำในที่อื่นๆ ได้ทั่วประเทศ” อาจจะไม่ใช่ข้อสรุป เพราะชุมชนแต่ละชุมชนมีบริบท สภาพแวดล้อม ทุนทางสังคม ปัจจัย เงื่อนไข ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำงานพัฒนาชุมชน จะต้องให้ความสำคัญต่อการศึกษาชุมชนเพื่อนำไปสู่การวางแผนที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน (real need)
3.1.5.2 ทำความเข้าใจหลักการศึกษาชุมชน
หลักในการศึกษาชุมชนสำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, 2548)
1. คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของสมาชิกชุมชน โดยต้องคำนึงถึงเสมอว่าชุมชนมีความหลากหลายและอาจขัดแย้งได้
2. ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษา ชุมชน/ท้องถิ่น ตนเอง เพื่อพัฒนาจิตสำนึก ประเด็นปัญหา เช่น บุคคลประเภทใดและใครที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาพัฒนา
3. วิธีการศึกษา ได้แก่การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ให้สมาชิกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อมูล ทำให้เกิดความตระหนักด้วยตนเอง การลงไปชุมชนแล้ววิจัยเฉยๆ ไม่เห็นผล ต้องมีการปฏิบัติการด้วย
4. สิ่งที่ควรพิจารณาในการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาคือ ความไม่เท่าเทียมกันของศักยภาพของกลุ่ม บุคคลต่างๆ ความตั้งใจ เวลา ความรู้ ความร่วมมือ ทรัพยากรอื่นๆ เช่น เงิน วัตถุ วัฒนธรรม สถานที่ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของคนที่สนใจ แต่ละกลุ่มสนใจงานพัฒนาไม่เหมือนกัน จุดมุ่งหมายต่างกัน
5. มองบริบทของชุมชน เช่น ลักษณะสภาวะและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน บทบาทองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปัญหาสำคัญของชุมชน ประเพณี ความเชื่อ ค่านิยมสำคัญของชุมชน
3.1.5.3 การเตรียมตัวเข้าชุมชน
ในกระบวนการเก็บข้อมูลชุมชน คำว่า สนาม หมายถึง พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์ทางสังคม ชุมชน ที่เราจะศึกษา สนาม อาจจะเป็นหมู่บ้านในชนบท ชุมชนแออัดในเมือง ดังนั้นการเตรียมตัวทำงานภาคสนามจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปูพื้นฐานเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของแต่ละชุมชนที่นักพัฒนาลงไปปฏิบัติงาน ต้องวางแผนการเข้าพื้นที่โดยคำนึงถึงความผสมกลมกลืนที่และดูเป็นธรรมชาติมากสุด (สุภางค์ จันทวานิช, 2546 ) เช่น
3.1.6 การแนะนำตัว
การเข้าไปในชุมชนแม้จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเข้าไปแล้วจะนักพัฒนาจะเป็นที่ยอมรับเสมือนหนึ่งเป็นลูกหลานเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัย เทคนิคกระบวนการที่หลากหลาย และเทคนิคขั้นแรกที่สำคัญคือ การสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ (First impression) ดังนั้นเทคนิคการแนะนำตัว มีหลายวิธีการได้แก่
สิ่งที่ควรตระหนักตามมาในการแนะนำตัวคือ การชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าพื้นที่ และบอกระยะเวลาของการเข้าศึกษาชุมชน ตลอดจนอาจขอความอนุเคราะห์จากผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของชุมชน
3.1.7 เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
เทคนิคพื้นฐานของการเข้าพื้นที่ชุมชน คือ เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคแรกและเป็นเทคนิคที่สำคัญของการพัฒนาชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ ความศัรทธา และความไว้เนื้อเชื้อใจจากชุมชน มีเทคนิคดังนี้
- “เด็ก” เป็นสื่อสานสัมพันธ์ชุมชน
- “ตลาดชุมชน” เพื่อเห็นถึงหลากหลายสินค้า ผู้คน และเรื่องราวของชุมชน
- “วัด” ในชุมชน
3.1.8 การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในชุมชน
ทุกคนที่จะเข้าพื้นที่ศึกษาชุมชนต้องเรียนรู้เพื่อการปรับตัวร่วมกับชุมชนให้ได้ เช่น
3.1.9 ข้อพึงระวังในการเข้าพื้นที่ชุมชน
3.1.10 การออกจากชุมชน
การออกจากชุมชนดูเหมือนจะเป็นเทคนิคที่ทำได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานชุมชนมักละเลยให้ความสำคัญหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์เมื่องานเสร็จก็ออกไปจากชุมชนโดยไม่มีเทคนิคที่เหมาะสม ซึ่งในความเป็นจริงผู้ปฏิบัติงานจะต้องรักษาความสัมพันธ์เดิมกับชุมชนไว้ หลักการที่สำคัญของการออกจากชุมชน คือ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการออกจากชุมชน กล่าวลาในที่ประชุมของหมู่บ้าน จะทำให้การออกจากชุมชนมีความนุ่มนวล เหมาะสม ตามหลัก ไป ลา มา ไหว้ และสง่างาม
เอกสารอ้างอิง
โกมาตรจึงเสถียรทรัพย์และคณะ. (2545). วิถีชุมชน. กรมการพัฒนาชุมชน คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนสำหรับการพัฒนา หน้า 81
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2536) “วิธีการเก็บข้อมูลเพื่อเข้าใจสภาวะและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน” คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2525) การพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช
สุภางค์ จันทวานิช. (2536) “วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.” ใน คู่มือการวิจัยเชิง
กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
[1] เป็นบทความที่ชาวพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเขียนขึ้นเพื่อส่งความสุข (ส.ค.ส.) ในวันปีใหม่ 2560 ให้กับผู้ที่นับถือ และมิตร
[2] จังหวัดมหาสารคาม แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2561-2564 หน้า 22
[3]เทศบาลเมืองมหาสารคาม แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560 หน้า 6
[4] โปรดดูรายละเอียดใน อรุณศักดิ์ กิ่งมณี ตามหาร่องรอยขอมและมอญในมหาสารคาม ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท 2543
[5] บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญช่วย อัตถากร ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 หน้า 62-64 และ ธีรชัย บุญมาธรรม งานวิจัยเรื่อง พัฒนาการของเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2408-2455 มหาสารคาม: โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง 2547 หน้า 92
[6] เติม วิภาคย์พจนกิจ ประวัติศาสตร์อีสาน กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542 หน้า 180
[7] ธีรชัย บุญมาธรรม งานวิจัยเรื่อง พัฒนาการของเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2408-2455 มหาสารคาม: โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง 2547 หน้า 59 ;ธีรชัย บุญมาธรรม ความ(ไม่)รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 2558 หน้า 34-41 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานนามเมือง จาก บ้านกุดลิง เป็น เมืองวานรนิวาส เนื่องจากทรงใช้ คำว่า ลิง เป็น วานร ซึ่ง ลิง ในความเข้าใจคนท้องถิ่น คือ ต้นลิง มีใบเรียวยาว สีเขียวขึ้นตามหนองน้ำ ส่วนกุด ทรงแปลว่า ที่อยู่อาศัย คือ กุฏิ แทนหนองน้ำด้วน ซึ่งเป็นคำว่า นิวาส แปลว่าที่อยู่อาศัย
[8] บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ หน้า 70
[9] สัมภาษณ์ นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[10]บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ หน้า 63
[11] สัมภาษณ์ นางนัด จันทราช นายประพิส ทองโรจน์ และ นางอร วหุโต สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ณ โรงหนังนครสวรรค์ บ้านเลขที่ 1324 ถนนนครสวรรค์ อำเภอเมือง มหาสารคาม
[12] สัมภาษณ์ นายประพิส ทองโรจน์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[13] สัมภาษณ์ นางนัด จันทราช สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2537
[14] สัมภาษณ์ นางนัด จันทราช สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2537
[15]สัมภาษณ์ นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557
[16] บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ หน้า 71
[17]ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ธีรชัย บุญมาธรรม และ ทม เกตุวงศา ข้อมูลฝ่ายวิชาการ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองฯ มหาสารคาม 2546 หน้า 42-43
[18] หลังจากผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกแล้ว กระทรวงมหาดไทยได้ส่งข้าราชการจากส่วนกลางมาปกครอง อาทิ พระยาสารคามคณาภิบาล (พร้อม ณ นคร) ช่วง พ.ศ. 2460-2462 พระยาสารคามคณาภิบาล (ทิพย์ โรจนประดิษฐ์) พ.ศ. 2462-2466 พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันท์) พ.ศ. 2466-2468 พระยาสารคามคณาภิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์) พ.ศ. 2468-2474 พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร) พ.ศ. 2474-2476 หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ. สมถวิล เทพาคำ) พ.ศ. 2476-2482 เป็นต้น
[19] ธีรชัย บุญมาธรรม ความ(ไม่)รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 2558 หน้า 52-56
[20] บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ หน้า 103; สัมภาษณ์ นายสันต์ ศรีสถิตย์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[21] โปรดอ่านรายละเอียดใน จักรมนตรี ชนะพันธ์ สนามบินเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2465-2472 รายงานในรายวิชา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ. 2557
[22] สัมภาษณ์ นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม 2557
[23] บุญช่วย อัตถากร ประวัติศาสตร์ภาคอิสาณ และเมืองมหาสารคามและผลงานต่าง ๆ หน้า 110
[24] สัมภาษณ์ นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม 2557
[25] สัมภาษณ์นางอร วหุโต สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 16 ตุลาคม 2537
[26] สัมภาษณ์ นางทองเลี่ยม เวียงแก้ว สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม 2557
[27] สัมภาษณ์ นายประพิส ทองโรจน์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[28] สัมภาษณ์ นายประพิส ทองโรจน์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[29] สัมภาษณ์ นายแสวง บุตรโพธิ์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[30] สัมภาษณ์นายแสวง บุตรโพธิ์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[31] นางลออ ทองโรจน์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2537
[32] นางรัศมี เทศแดง อายุ 60 ปี ผู้ให้สัมภาษณ์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ณ บ้านเลขที่ 1220/1 คุ้ม
วัดนาควิชัย อำเภอเมือง มหาสารคาม วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[33]สัมภาษณ์ นายประพิศ ทองโรจน์ สัมภาษณ์โดย นายทวีศิลป์ สืบวัฒนะ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2537
[34] ธีรชัย บุญมาธรรม ความ ( ไม่ ) รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม ขอนแก่น: คลังนานา 2558 หน้า 103
[35] ธีรชัย บุญมาธรรม ความ ( ไม่ ) รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม หน้า 8
[36] ธีรชัย บุญมาธรรม ความ ( ไม่ ) รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม หน้า 104
[37] สัมภาษณ์ นางประเยาว์ บัวไถล สัมภาษณ์โดย นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[38] สัมภาษณ์ นายโอสา ตีกา สัมภาษณ์โดย นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[39] สัมภาษณ์ ศุภรัตน์ วิปัชชา สัมภาษณ์โดย นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[40] สัมภาษณ์ นายโอสา ตีกา สัมภาษณ์โดย นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[41]สัมภาษณ์ นางประเยาว์ บัวไถล สัมภาษณ์โดย เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดาและนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[42]สัมภาษณ์ นายอดุลย์ศักดิ์ เสนารัตน์ สัมภาษณ์โดย เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[43]สัมภาษณ์ นายประวัติ บัวไถล สัมภาษณ์โดย เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา และนายณัฐพล นาทันตอง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[44] ศุกธิกานต์ มีจั่น , ปรีชญาณ์ นักฟ้อน “การพัฒนาความร่วมมือและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” วารสารสาระคาม ปีที่2 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2554 หน้า 87
[45]ธีรชัย บุญมาธรรม ความ(ไม่)รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา 2558 หน้า53.
[46]ธีรชัย บุญมาธรรม พัฒนาการเมืองมหาสารคาม ช่วงเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่น พ.ศ.2408-2455 มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์ 2554 หน้า106
[47] ศาลากลางหลังใหม่เป็นชื่อเรียกติดปากของประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการเพื่อป้องกันการสับสนว่ามีการย้ายที่ทำการแล้วหรือไม่ จึงตั้งคำเรียกกันติดปากว่าศาลากลางหลังใหม่ ส่วนบริเวณพื้นที่เดิมเรียกศาลากลางเก่า
[48]ธีรชัย บุญมาธรรม ความ(ไม่)รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา 2558 หน้า56
[49] สัมภาษณ์ สิริทรทิพย์ ถิ่นสำอาง สัมภาษณ์ โดย นายณัฐพล นาทันตอง วันที่ 23 ธันวาคม 2559
[50] สัมภาษณ์นายสุรสันต์ นันทะเสน อายุ 46 ปี สัมภาษณ์โดย นายณัฐพล นาทันตอง วันที่ 23 ธันวาคม 2559.
[51] สัมภาษณ์ นายชัชวาล บะวิชัย อายุ 53 ปี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง สัมภาษณ์โดยนายวุฒิกร กะตะสีลา วันที่ 21 ธันวาคม 2559
[52] สัมภาษณ์ นายชัชวาล บะวิชัย อายุ 53 ปี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง สัมภาษณ์โดยนายวุฒิกร กะตะสีลา วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[53] สัมภาษณ์ นายชัชวาล บะวิชัย อายุ 53 ปี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง สัมภาษณ์โดยนายวุฒิกร กะตะสีลา วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559
[54] เว็บไซต์หลัก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ประวัติความเป็นมา. URL: msu.ac.th (1 ธันวาคม 2560)
[55] ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ และจัด “เขตการสูบบุหรี่” พ.ศ. 2557